รายงานผลการวิจัย เรื่อง การดำเนินการจัดตั้งและการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยอนุบาลอย่างมีส่วนร่วมและพึ่งตนเองของชุมชน: กรณีศึกษาตำบลกกโก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

The Establishment and Management of the Potential Development Center for Pre-Kindergarten Children as Contributed by Community Self-Reliance and Participation: A Case Study of Tumbon Kok-ko, Amphur Muang, Lopburi Province

Authors

  • วาสนา ขัตติยวงษ์

Keywords:

ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยอนุบาล, ตำบลกกโก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีความมุ่งหมายเพื่อ ๑) ศึกษาความพร้อมในการมีส่วนร่วมและพึ่งตนเองของชุมชนในการจัดการศึกษาระดับก่อนวัยอนุบาล ๒) ศึกษาการดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยอนุบาลและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการศูนย์ฯ โดยชุมชน และ ๓) ศึกษาความยั่งยืนของศูนย์ฯ ที่ชุมชนจัดตั้งขึ้น ชุมชนที่ศึกษามีลักษณะผสมผสานระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท สภาพสังคมโดยรวมประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง วัด ๗ แห่ง สถานีอนามัย ๑ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุ ๓ ปี ๑ แห่ง มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรทำนา กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ในชุมชนนี้มีประชากรจำนวน ๖,๒๖๒ คน ประมาณสามในสี่ประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพทางการเกษตร รายได้ของประชากรโดยเฉลี่ย ๒๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี ผลการศึกษาพบว่าคุณลักษณะของความพร้อมในการมีส่วนร่วมและพึ่งตนเองได้แก่ การรวมกลุ่มกันทำงาน การจัดการสัมพันธ์ของกลุ่มแบบมีส่วนร่วม จิตสำนึกของการพึ่งตนเอง และการแสวงหาการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอยู่ในชุมชนแล้ว แต่การร่วมกันจัดการศึกษาอย่างพึ่งตนเองยังไม่มีการจัดสร้างขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อผู้วิจัยได้เข้าไปเตรียมความพร้อมในการมีส่วนร่วมและพึ่งตนเองโดยใช้ ๓ เทคนิค ได้แก่ ๑) เทคนิคการประเมินสภาวะชนบทอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal : PRA) เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กก่อนวัยอนุบาลและรับรู้ถึงปัญหาการดูแลเด็กก่อนวัยอนุบาลในชุมชน ๒) เทคนิคการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม (Appreciation – Influence – Control : AIC) เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา และ ๓) เทคนิคการวิเคาะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา จึงเกิดความพร้อมในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับก่อนวัยอนุบาลอย่างพึ่งตนเอง จากนั้นชุมชนได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยอนุบาล โดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์ฯ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์ฯ โดยบูรณาการองค์ความรู้ในเรื่องการจัดตั้งศูนย์ฯ และการบริหารจัดการศูนย์ฯ เข้ากับทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดหาและปรับปรุงสถานที่ จัดหางบประมาณและบุคลากร ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยอนุบาลพบว่า ศูนย์ฯ ที่ บริหารจัดการโดยบุคลากรในชุมชนนั้นมีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองที่นำเด็กมาให้ศูนย์ฯ ดูแล และคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์ฯ มีความพึงพอใจ การจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยอนุบาลในชุมชนจึงเป็นการตอบสนองความต้องการผู้ดูแลเด็กก่อนวัยอนุบาลของผู้ปกครองและชุมชนดังนั้น หากชุมชนยังมีความต้องการผู้ดูแลเด็กก่อนวัยอนุบาลอยู่ การดำเนินการที่ต่อเนื่องของศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กก่อนวัยอนุบาลเป็นสิ่งที่เป็นไปได้  This study, using participatory action research, had three main objectives: 1) to study the readiness of the community self-reliance and participation in pre-kindergarten management; 2) to study the establishment and the management effectiveness of the potential development center for pre-kindergarten children implemented by the community; and 3) to study the sustainability of the center established by the community. The community under the study is an urban-rural mix. It has 2 elementary schools, 7 Buddhist temples, 1 public health center, and one 3-year-old childcare center as well as many activity groups such as the house-wife the farmer, the elderly, and the public health volunteer groups. Its population was 6,262. Three quarter of the population were employees and government officials while others were agriculturalists. The average income was Baht 20,000 per person per year.  The findings were as follows.  1)  There existed participation and self-reliance characteristics in the community such as workgroups, participative group relations, self-reliance senses, and support-seeking from stakeholders but the community self-reliance in educational management had not been created yet. The readiness for participation in self-reliance of pre-kindergarten education was prompted by the researcher using the following three techniques, i.e. the Participatory Rural Appraisal (PRA) to stimulus the community to perceive and aware of the importance of pre-kindergarten and the childcare problems in the community: The Appreciation-Influence-Control (A-I-C) to plan for the solutions to the problems, and the Stakeholder Analysis to seek supports from the stakeholders in the problem solutions. Then the community reached a consensus to establish a committee for establishing and managing the potential development center for pre-kindergarten children. With this regard, the committee integrated the body of knowledge regarding the center establishment and management with local resource and wisdoms in order to acquire and prepare for the center site, budget and personnel. The evaluation of the management effectiveness and the sustainability of the center revealed that the center administered by the community personnel was efficient. Parents who put their children in the center and the center administration committee were satisfied with the results of the implementation of the center. This indicated that the established potential development center for pre-kindergarten children could respond to the parents and community’s needs of personnel to take care and educate their pre-kindergarten children. Therefore, if the parent’s needs of the personnel still exist, the potential development center for pre-kindergarten center would possibly prolong.

Downloads

Published

2024-05-29