ความต้องการของประชาชนริมคลองที่จะฟื้นฟูพัฒนาคลองสำโรงจังหวัดสงขลา

Authors

  • พลอยรำไพ แก้วแสงอ่อน

Keywords:

การฟื้นฟูลำน้ำ - - การมีส่วนร่วมของประชาชน, การฟื้นฟูลำน้ำ - - ไทย - - สงขลา, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, คลองสำโรง (สงขลา)

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของคลองสำโรงจังหวัดสงขลา และเพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนริมคลองที่จะพัฒนาคลองสำโรงจังหวัดสงขลา วิธีการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่จริงสำรวจข้อมูลภาคสนาม การศึกษาจากภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีความสำคัญกับชุมชน ชุมชนไว้วางใจและให้การยอมรับและใกลเชิดกับประชาชนมากที่สุด ประกอบด้วยประธานชุมชน จำนวน 6 คน ผู้ใหญ่บ้านจำนวน 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่อีกจำนวน 5 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 15 คน แต่ละคนสามารถตอบความต้องการได้มากกว่า 1 ความต้องการ ผลารศึกษาพบว่า คลองสำโรงมีความสำคัญเป็นอย่างมากแต่อดีตเป้นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญระดับนานาชาติเส้นทางหนึ่ง มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เคยเป็นเส้นทางเสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นแหล่งทำมาหากินของคนที่อาศัยอยู่ริมคลองและใช้หลบคลื่นหลบพายุและร่นระยะเวลาในการเดินเรือ คลองจึงมีคุณนานับปการ แต่เดิมคลองสำโรงมีความสวยงาม มีน้ำใสสะอาด มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ปัจจับันพบว่ามีการปลูกสร้างบ้านเรือนอยาศัยอยู่ริมสองฝั่งคลองอย่างหนาแน่น มีการรุกล้ำพื้นที่คลองสำโรงเกือบทุกจุด คลองจึงกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เน่าเหม็น และไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ถึงแม้หน่วยงานภาครัฐจะมาช่วยพัฒนาขุดลอกหลายครั้งแต่ยังขาดความร่วมมือจากประชาชนที่อยู่ริมคลอง จึงทำให้คลองสำโรงกลายเป็นเพียงคลองระบายน้ำเสียในปัจจุบันจากการสัมภาษณ์ประชาชนริมคลอง 15 คน พบว่า ประชาชนริมคลองต้องการที่จะให้ภาครัฐเข้ามาช่วยพัฒนาคลองสำโรง โดยเรียงคามลำดับความต้องการมาก ทั้งสิ้น 22 ความต้องการ ดังนี้1) การสรา้งจิตสำนึก 2) การขุดลอกคลอง 3) ทำกำแพงสองฝั่งคลอง ป้องกันการกัดเซาะและป้องกันการบุกรุก 4) การบังคบใช้กฎหมาย 5) การสร้างเครือข่าย 6) เทศบาลทั้งสองต้องร่วมมือกันทำงาน 7) ให้มีเรือเก็บขยะทางน้ำทุกวัน 8) สร้างที่พักอาศัยให้คนริมคลอง 9) ปรับปรุงภูมิทัศน์สองฝั่งและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 10) ฟื้นฟูน้ำในในคลองสำโรงใสสะอาดและอุดมสมบูรณ์ 11) สร้างสะพานข้ามคลองให้เรือผ่านได้ตลอด 12) ให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 13) สร้างประตูปิด-เปิดน้ำ ดูดน้ำเสรยออก และเอาน้ำดีเข้า 14) ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการคลอง 15) ให้มีการกำจัดขยะและวัชพืชในวันสำคัญทุกปี 16) สร้างสะพานตลอดแนวสองฝั่งคลอง 17) ชุมชนควรใช้ท่อน้ำทิ้งร่วมกับเทศบาล 18) จัดทำโครงการชุมชนไร้ขยะไม่มีกลิ่น 19) ติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อจับปรับคนทิ้งขยะลงคลอง 20) ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันดินทรุด 21) ทุกชุมชนจะต้องมีกฎของชุมชน และ 22) ผู้นำชุมชนที่อยู่ริมคลองมีหน้าที่บริหารงบประมาณอย่างบูรณาการThe objectives of this research studies were: 1) to study the history of Khlong Samrong Songkhla (KSS), 2) to study the needs of the people to develop the KSS. The methodology and data collection by study documents and using Geospatial Technology to study area by using Satellite images from Google Earth to study the present, field surveys and interviews, which consists of 15 samples from both sides of KSS who are community leaders amount ten people and the local expert amount five people. Because these people are closer to the community and accepted by the community. The samples can answer more than one answer.The study found that the KSS in the part are very important, the route is one the major international routes, the trade with foreigner, used to be the Royal visit of King Rama 5, source of livelihood of the people living along the KSS, avoid waves and storms and shorten the duration of the cruise. Originally, KSS is beautiful place, with crystal clear water with many natural resources. Now a day, there are massively populated along the KSS. There encroach KSS almost every point and KSS became putrid and could not be utilized. Although, Government agencies to help the people by dredging down the canal for serveral times, but the lack of cooperation form the people. Canal today continues to become a wastewater discharge.The interviews found that the needs for the development 22 topics of the people is as follows: 1) raising awareness, 2) dredging the canal. 3) Do the canall wall to Erosion and intrusion prevention 4) Enforcement 5) Networking 6) municipalities both to collaborate 7) toship waste water daily, 8) build flats for the people 9) landscape on both sides and develop as a tourist 10) in the canal rehabilitation, clean and plentiful 11) buitl an arch bridge over the canal and the ship passes through 12) Awareness about the environment 13) create the door closed-open water. Water waste and to take bile 14) promote cooperation on the management of canal 15), a waste and weeds in important day in every year. 16) Build a bridge across the canal 17) communities should join with minucipal sewer. 18) Prepare project without garbage oder. 19) Install CCTV cameras to cath people littering fines into the canal. 20) Plant grass to prevent soil collapse, 21) each community will have the rules of the communitu. And 22) the community leaders on the canals is responsible fiscal management integrated. 

Downloads