การศึกษาแบบทดสอบจิตวิทยาในกลุ่มคนงานที่ทำงานสัมผัสสารตะกั่ว

Authors

  • จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ

Keywords:

ตะกั่วเป็นพิษ, โรคเกิดจากอาชีพ, จิตวิทยา, แบบทดสอบ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความบกพร่องของหน้าที่สมองในคนงานที่ทำงานสัมผัสกับสารตะกั่ว โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับตะกั่วในเลือดกับคะแนนแบบทดสอบจิตวิทยา และศึกษาปัจจัยทางประชากร ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา หน้าที่การทำงาน ระยะเวลาการสัมผัสพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ การใช้อุปกรณีป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่มีผลต่อระดับตะกั่วในเลือดและคะแนนแบบทดสอบจิตวิทยา คนงานที่ทำงานสัมผัสสารตะกั่วในโรงงานถลุงตะกั่ว หลอมตะกั่ว และผลิตแบตเตอรี่ จำนวน 163 คน และคนงานทุกคนทำงานเป็นกะ กะละ 8 ชั่วโมง ได้ถูกคัดเลือกมาศึกษาระดับตะกั่วในเลือด และตรวจวัดความบกพร่องของหน้าที่สมอง โดยการทำแบบทดสอบเชาว์ปัญญาเวคสเลอร์สำหรับผู้ใหญ่ (ซึ่งได้แก่แบบทดสอบย่อยการจำตัวเลข) แบบทดสอบความเร็วในการใช้นิ้วกด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระดับตะกั่วในเลือดกับคะแนนทดสอบ โดยใช้ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient การวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับตะกั่วในเลือดและคะแนนแบบทดสอบกับปัจจัยทางประชากรได้ โดยใช้ t-test และ ANOVA          ผลการวิจัยพบว่า คนที่ทำงานสัมผัสกับสารตะกั่วที่มีระดับตะกั่วในเลือดเฉลี่ย 43.70 + 15.02 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร มีความบกพร่องของหน้าที่สมองที่เกี่ยวกับความทรงจำ ความตั้งใจสมาธิและความสามารถในการผสมผสานการทำงานของการใช้สายตาและการเคลื่อนไหวของมือ (p<0.05) ซึ่งความบกพร่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของบริเวณสมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังของสมองส่วนกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อระดับตะกั่วในเลือดคนงานที่ทำงานสัมผัสสารตะกั่ว คือ เพศ การศึกษา หน้าที่การทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการดื่มสุรา (p<0.05) ปัจจัยที่มีผลต่อแบบทดสอบโปรเกรสซีพเมตรีซีสและแบบทดสอบย่อยการจัดลูกบาศก์เมตร ตามแบบ คือ อายุ การศึกษา หน้าที่การทำงาน และระยะเวลาการสัมผัส ปัจจัยที่มีผลต่อแบบทดสอบการจำตัวเลขคือ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแบบทดสอบย่อยสัญลักษณ์ตัวเลขคืออายุ การศึกษา หน้าที่การทำงาน และปัจจัยที่มีผลต่อแบบทดสอบความเร็วในการใช้นิ้วกดของมือข้างที่ถนัด คือ เพศ การศึกษา หน้าที่การทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ส่วนมือทั้งที่ไม่ถนัด คือเพศ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ (p<0.05) ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าคนงานทีทำงานสัมผัสสารตะกั่ว ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ร่วมกับการตรวจอาการผิดปกติทางระบบประสาท รวมทั้งการตรวจหาระดับตะกั่วในเลือด          The porpose of this resech was to apply the psychological test to study brain dysfunction in a lead exposure group, to analyze the relationship between blood lead levels and psychological scores to study the effects of demographic factors such assex, age, education, job responsibilities, time of exposure, smoking habits, drinking habits and the use of personal protective device on blood concentration an on a psychological test. The 163 subjects were from lead smelting and battery manufacturing companies. All of the subjects worked 8 hour shiffs. The workers exposed to lead were giver the psychological test and the blood lead concentrations were also measured. The psychological test were the Progressive Matrices Test (Intelligence Quotient), Digit Span Subtest, Block Design Subtest and Digit Symbol Subtest of the Wechsler Adult Intelligence Scales (WAIS) and Finger Tapping Test. The analysis was made by using Pearson’s Product Moment correlation Coefficient, t-test and ANOVA.          The results showed that workers exposed to lead had mean blood lead levels of 43.70 + 15.02 ugm/100 ml. The most important finding was a significant relationship between impairment of memory, attention, concentration and impairment of visual motor function or visual motor coordination or impairment of eye-hand coordination (p<0.05). But there as no impairment of intelligence level of Intelligence Quotient. The impairment of brain function was related to fromtal lobe, temporal lobe, arietal lobe and occipital lobe. The factors with significant effect on blood lead concentrations were sex, education, job responsibilities, smoking habits and drinking habits (p<0.05). Age, education, job responsibilities and time of exposure had signifinicant effect on the Progressive Matrices Test and Block Design Subtest (p<0.05). Education had a significant effect on the Digit Span Subtest. Age, education and job responsibilities had siginificant effect on the Digit Symbol Subtest, Sex, education, job responsibilities and smoking habits affected the Finger Tapping Test (Dominant), but sex, smoking and drinking habits affected the Finger Tapping Test (Nondominant X (p<0.05). So this study indicated that a lead exposure group should has an access to health assessment, the examination should include physical examination and examination of the mervous system and blood lead concentration analysis.

Downloads