การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี

The Life Quality Development of the Elderly in Kalasin Province: A Case Study of Khok Sri Subdistrict Municipality Community

Authors

  • อ๊อต โนนกระยอม
  • พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, Life Quality, Elderly, Life Quality Development

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี 2) วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรีและ 3) พัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และประเด็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน เงินหมุนเวียนไม่คล่อง 2) ด้านสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นจำนวนมาก และ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน 2. วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ ต้องการการหารายได้เสริมจากอาชีพที่ว่างจากงานหลัก 2) ด้านสุขภาพต้องการการส่งเสริมสุขภาพโดยการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน 3) ด้านการเงินต้องการเรียนรู้วิธีจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน 3. การพัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินการกิจกรรมกลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก 2) ด้านสุขภาพได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินกิจกรรมการบันทึกบัญชี กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์  The objectives of this research were 1) to study the conditions of problems and obstacles to improving the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. 2) Analyze the needs to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community, and 3) develop activities to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. Using qualitative research methodology, the main informants were 80 seniors aged 60 years and above. The results of the research were as follows: 1. Conditions, problems, and obstacles to improving the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. It was found that 1) Occupational: Most of the elderly have unstable incomes.2) Health Most of the elderly are physically healthy, and 3) Financial Most seniors have not yet organized their financial lives. 2. Analysis of the need to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. Found that 1) Occupation 2) Health needs health promotion by growing organic vegetables in the household, and 3) Financially, they want to learn how to organize their financial life. 3. Development of activities to improve the quality of life of the elderly in Kalasin province: A case study of Khok Sri subdistrict municipality community. It was found that 1) occupational, the elderly group has carried out plastic basket weaving group activities, 2) health has carried out group activities to grow vegetables, kitchen gardens, edible fences, and 3) financial. The elderly group has carried out accounting activities. Funeral Home Group.

References

นิธิวรรธน์ คูเจริญไพศาล. (2564). การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชนบทภาคเหนือโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน. รายงานวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). การเข้าถึงระบบบริการทางสังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีรูปแบบการอยู่อาศัยต่างกันเพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุน การบริการที่เหมาะสม. วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://ipsr.mahidol.ac.th

สนธยา สวัสดิ์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมคิด แนวกระโทก. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 158-170.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดกาฬสินธุ์. วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://kalasin.nso.go.th

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อ๊อต โนนกระยอม และพรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์. (2565). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงวัยผ่านหลักสูตรการเรียนรู้การสร้างคุณค่าเพื่อสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 72-86.

Department of Local Administration. (n.d.). Standards of Community Learning Center. Department of Local Administration. Bangkok: Ministry of Interior.

Khamwong, W. et al. (2011). Factors Relating to Quality of Life of Elderly. Journal of Health Science Research, 5(2), 32-40.

Zahava, G., & Bowling, A. (2004). Quality of life from the perspectives of older people. Ageing & Society, 24(5), 675-691.

Downloads

Published

2024-07-03