แนวทางการแก้ปัญหาหมอกควัน สำหรับจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • อัจฉรีย์ ทิพธนธรณินทร์

Keywords:

ปัญหาหมอกควันเมืองเชียงใหม่, การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน, แนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควัน, ข้อตกลงผลประโยชน์ของสังคม

Abstract

บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันของ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาของณัฐกร วิทิตานนท์และโครงการวิจัยสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในการ แก้ปัญหาวิกฤตหมอกควัน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งในเชิง นโยบายและเชิงปฏิบัติทว่าเงื่อนไขสำคัญต่อความสำเร็จในการแก้ไข ปัญหาหมอกควันของเมืองเชียงใหม่ คือ 1) มาตรการส่งเสริม บังคับ และการรณรงค์เพื่อลดการเผาอย่างเป็นรูปธรรม 2) การกระจายอำนาจในการจัดเก็บภาษี3) แนวคิดการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต และ 4) ความตื่นตัวและความตระหนักของประชาชน ทั้งนี้ เมื่อนำแนวคิดของ Pierson ที่กล่าวถึงการเป็นหุ้นส่วนของสังคม และ Mackintosh ที่กล่าวถึงกระบวนการฟื้นฟูเมืองมาผสานเข้ากับ ข้อตกลงผลประโยชน์ของชุมชน หรือ Community Benefits Agreements (CBAs) ของ Been แนวทางแก้ไขปัญหาของณัฐกร วิทิตานนท์ และโครงการวิจัยสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในการ แก้ปัญหาวิกฤตหมอกควัน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหมอก ควันด้วยข้อตกลงผลประโยชน์ของสังคม หรือ Society Benefits Agreements (SBAs) ที่มีแนวทางดำเนินการคือ 1) สร้างกระบวนการ ของการเป็นหุ้นส่วนของสังคม (Social Partner) โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของสังคม2) ดำเนินการร่วมกันภายใต้ ทรัพยากร แรงงาน และทักษะที่แต่ละภาคส่วนมีอยู่จำกัด 3) กำหนด กระบวนการและสร้างโอกาสในการเจรจาระหว่างตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ และ 4) การดำเนินการตามข้อตกลงต้องมีความโปร่งใสในการดำเนินการและยึดถือข้อตกลงเป็นแนวปฏิบัติในลักษณะที่เป็น คำมั่นสัญญา หรือ Commitment ที่มีร่วมกันของสังคมThe purpose of this article was to present the solving guidelines of smog problem for Chiang Mai province. From studying solving guidelines presented by Vithitanon and Smoke Project of Faculty of Political Science and Public Administration, Chiang Mai University showed both policy and practical solving guidelines. However, the important conditions of success in solving smog problem in Chiang Mai province were: 1) measures of supporting, enforcing and setting campaign 2) decentralizing taxation 3) concept of buying and selling carbon credits and 4) enthusiasm and awareness of people. Anyway, when brought the social partner concept of Piersonand the urban recovering process of Mackintosh to combine with the Community Benefits Agreements (CBAs) concept of Been, solving guidelines of Vithitanon and smoke project of Faculty of Political Science and Public Administration, Chiang Mai University, these led author to create the smog solving guidelines with Society Benefits Agreements approach which was: 1) to create the processes of being the social partner bysupporting the collaboration between stakeholders within society 2) to operate under limited resources, labors and own skills 3) to determine the processes and make opportunities in negotiating between representatives from many sectors and 4) to operate along the agreements with transparency and abidance as the commitments of society.

Downloads