ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมกับพฤติกรรมการออมของประชาชนในพื้นที่ ตำบลบ้านเซิด อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

Authors

  • มยุรี สุวรรนาวุธ
  • อุษณากร อุษณากร ทาวะรมย์

Keywords:

พฤติกรรมการออมของประชาชน, ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการออม ของประชาชนที่อาศัยในเขต ตำบลบ้านเซิด อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และ (2) ศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการออมของประชาชนที่อาศัยในเขตตำบลบ้านเซิด อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนที่อาศัยในเขตตำบลบ้านเซิด อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีที่มีอายุ 18-60 ปี จำนวน 365 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และการทดสอบไคว์สแควร์ (Chi-square test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนส่วนใหญ่มีปริมาณการออมต่อเดือนต่ ากว่า 1,000 บาท ส่วนการออมรูปแบบสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นการซื้อ อัญมณี การออมในรูปแบบทรัพย์สินทางการเงินในระบบส่วนใหญ่ เป็นการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ประเภทออมทรัพย์ การออมในรูปแบบทรัพย์สินทางการเงินนอกระบบส่วนใหญ่เป็นการเล่นแชร์ และประชาชนมีวัตถุประสงค์หลักของการออมคือ เพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉินมากที่สุด 2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของประชาชน ได้แก่ ความไม่แน่นอนของรายได้ ภาวะเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมือง นโยบายของรัฐ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจภายในประเทศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของประชาชน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05The purposes of this study were to examine public saving behavior and to investigate social and economic factors correlating to their saving behavior. The subjects participating in this study were 365 residents, aged 18-60, living in Ban Serd Sub-district, Panusnikom District, Chon Buri Province. They were recruited by a simple random sampling technique. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistical tests included frequency, and percentage. To test the hypotheses, ChiSquare was operated. The results of the study were as follows: 1. It was shown that the majority of the subjects saved less than 1,000 baht on a monthly basis. They also saved in a form of purchasing jewelry or other ornaments. Depositing their money with commercial banks was another form of their saving. In addition, saving money in a form of money-sharing was commonly practiced among the subjects. The main reason for saving was for future use, especially for urgent and immediate needs. 2. Based on the test of hypotheses, it was shown that the variables in relation to the uncertainty of income, political risk, government policies,and instability of internal economy were statistically correlated with the subjects’ saving behavior at a significant level of 0.05.

Downloads