ความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม ในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย

Authors

  • กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล

Keywords:

การฟื้นฟู, ฟื้นฟูของชุมชน, ภัยพิบัติน้ำท่วม

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วมในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่ศึกษาประกอบด้วย ชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวน 2 ชุมชนคือ ชุมชนประตูจีน (เขตเมือง) และบ้านภูเขาทอง (เขตชนบท) ชุมชนในจังหวัดน่าน จํานวน 2 ชุมชนคือ ชุมชนภูมินทร์-ท่าลี่ (เขตเมือง) และบ้านห้วยก๋วง-ดงป่าสัก (เขตชนบท) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสํารวจ จํานวน 342 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความสามารถในการรับมือและฟื้นฟู          ผลการศึกษา พบว่าชุมชนมีความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูจากภัยพิบัติน้ำท่วม ในมิติด้านสภาพแวดล้อม มิติด้านกายภาพ และมิติด้านสถาบัน ในระดับต่ำ (UNDP และอิงการกระจายตัวของค่าเฉลี่ยคะแนน) มิติด้านสังคม ระดับต่ำ (UNDP)-ปานกลาง (อิงการกระจายตัวของค่าเฉลี่ยคะแนน) ส่วนมิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านทุนชุมชน ระดับปานกลาง (UNDP)-สูง (อิงการกระจายตัวของค่าเฉลี่ยคะแนน) ดังนั้น แนวทางในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน จึงควรจัดทําแผนการรับมือและฟื้นฟูแบบครบวงจร ตลอดจนประเมิน ความเปราะบางและความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูจากภัยพิบัติทั้งระดับครัวเรือน และชุมชนอย่างต่อเนื่อง และนําผลที่ได้ไปใช้วางแผน และจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม            The objective of this research is to study communities' ability to cope with and recover from catastrophic flooding in Central and Northern Thailand by applying quantitative research methods. The study area consists of 2 communities in Ayutthaya (Pratuchin and   Ban Phu Khao Thong communities), and 2 communities in Nan (Phumin - Tha Li, and Ban Huai Kang - Dong Pasak). The researcher collected data from a total of 342 households to measure the communities' ability in how they cope with and recover from catastrophic flooding. The researcher used the statistical tools of frequency, percentage, average, standard deviation, and level of resilience in data analysis.           The study result reveals that the communities have been able to cope with and recover from flooding in the areas of natural, physical and institutional abilities at a low level. In the social area, it was rated low to moderate, while the economic, and community capital areas were rated moderate to high. Based on the study results, the researcher suggests recommendations as guidance for the community to cope with and recover from catastrophic flooding consistent with the community context as follows: the community should prepare an integrated plan for response measures and recovery from catastrophic flooding. Priority should be given to human resource development, especially children and youth, and the knowledge and skills on how to deal with disasters effectively.

Downloads