ความรุนแรงเชิงโครงสร้างในการพัฒนาสู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

Authors

  • กาญจนา บุญยัง

Keywords:

ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง, นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, กระบวนการทําให้อยู่ชายขอบ, ความแปลกแยก

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะของความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับรัฐในกระบวนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยเป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ เอกสารของภาครัฐ รายงานการวิจัย และวีดีโอที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับมาบตาพุด ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดสู่ความเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่สามารถจําแนกช่วงเวลาการพัฒนาตามบทบาทของตัวแสดงได้ 3 ช่วง คือ (1) รัฐนำทุนอุตสาหกรรม (พ.ศ.2524-2535) (2) ทุนอุตสาหกรรมนําการพัฒนา (พ.ศ.2536-2548) และ (3) รัฐและทุนร่วมหาพันธมิตรจากชุมชน (พ.ศ.2548-2560) ความขัดแย้งของทั้ง 3 ช่วงเวลาวางอยู่บนความขัดแย้งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีอํานาจเป็นเงื่อนไขสําคัญ ทั้งนี้ความรุนแรงเชิงโครงสร้างในการพัฒนาสู่สังคมอุตสาหกรรมของมาบตาพุดเกิดขึ้นด้วยกระบวนการ  สำคัญ คือ การทำให้อยู่ชายขอบโดยกฎหมาย การทําให้อยู่ชายขอบด้วยชุมชน และการทําให้รู้สึกแปลกแยก  ซึ่งนําไปสู่การขัดขวาง ยับยั้งความต้องการมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ยาวนาน           The objective of this article is to describe process of violence relating to state during Map Ta Phut industrial developing process, Rayong province. The methodology used in this study was case study. Data was collected from secondary data; public documents, research reports and VDOs about Map Ta Phut. The result is as follows. There are 3 periods of Map Ta Phut’s development are classified by important actors’ role; (1) state-led industrial   development (1981-1992), (2) industrial capital-led development (1993-2005) and (3) state- capital-community alliance (2006-2017). Development of conflicts in the three periods were based on environmental conflict which power of 3 vital agencies; state, industrial capital and people play significant role. For dimension of structural violence, state’s forced industrialization in Map Ta Phut was marginalized people by laws and the community itself which led to alienation of the marginal. The procedures led to impede or obstruct a good quality of people’s life during long development’s time.

Downloads