วิวัฒนาการของอาเซียน: สู่การเป็นประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน

Authors

  • พิชญ์อาภา พิศุทธ์เศรณี

Keywords:

ASEAN, ประชาคมความมั่นคง/ อาเซียน/ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Southeast Asian Security

Abstract

          นิยามและองค์ประกอบของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ที่ได้รับการให้คํานิยามจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น แตกต่างไปจากคํานิยามของนักวิชาการทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ศึกษาเรื่อง “ประชาคมความมั่นคง” จากการศึกษาพบว่าบทบาทของอาเซียนต่อการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะที่มีพลวัต คือ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศและพัฒนาการของความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนในแต่ละช่วงเวลา จากการพิจารณาคุณสมบัติตามกรอบความคิดเรื่องประชาคมความมั่นคงที่ พัฒนาขึ้นจากกรอบความคิดของ Amitav Acharya สรุปได้ว่า อาเซียนและประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีคุณสมบัติในการเป็นประชาคม ความมั่นคงขั้นที่ 1 คือ ขั้นเริ่มต้นโดยสมบูรณ์ เพราะมีการมองเห็นภาพของภัยคุกคามร่วมกัน มีการคาดหวังผลประโยชน์ทางการค้าซึ่งกันและกัน และการมีอัตลักษณ์ร่วมกันในระดับหนึ่ง อาเซียนมีคุณสมบัติบางส่วนของการเป็นประชาคมขั้นที่ 2 คือ มีความร่วมมือทางการทหารอย่างผิวเผิน และมีอัตลักษณ์ร่วมด้านการสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบอย่างผิวเผิน นอกจากนี้ อาเซียนมีคุณสมบัติของการเป็นประชาคมขั้นที่ 3 หรือขั้นเติบโตเต็มที่ เพราะอาเซียนมีการเป็นสถาบัน แต่อาเซียนไม่มีคุณสมบัติการมีภาวะเหนือชาติ และประเทศสมาชิกไม่มีความไว้วางใจกันในระดับสูง และยังมีความเป็นไปได้ในระดับสูงที่จะเกิดความขัดแย้งทางทหาร           Definition and components of ASEAN Political Security Community, which are defined by governments of ASEAN’s member states, differ from definition and components of “Security Community” which are defined by scholars in International Relations. This study finds that the roles of ASEAN in Southeast Asian Politics and Security are dynamic which related to the changing of international environment and the evolution of ASEAN Political and Security Cooperation in each period. The results of this study show that cooperation of the ASEAN’s member states has been perfectly developed to the first tier or nascent tier as indicated in the conceptual framework which developed from the security community theory of Amitav Acharya. Because there are shared threat perceptions, expectations of mutual trade benefits, and some degree of shared identity. There is slightly military coordination and regulation standardization among ASEAN’s members, so ASEAN cooperation has been partly developed up to the second tier or ascendant tier as indicated in the security community theory. Besides, ASEAN cooperation has been partly developed up to the third tier or mature tier as indicated in the security community theory because there is institutionalization in ASEAN. However, ASEAN is not a mature security community because it lack supranationalism and high degree of trust among member states. Moreover, there is a high probability of military conflict.

Downloads