การวิเคราะห์องค์ประกอบตัวแปรสําคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
Keywords:
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, บรรยากาศองค์การ, ความพึงพอใจในงาน, คุณภาพชีวิตในการทํางาน, ความผูกพันต่อองค์การAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวแปร สําคัญในการบริหารทรัพยากร มนุษย์ โดยมีพนักงานที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ประเทศไทย จํานวน 562 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การวิจัย ผลการทดสอบความ เชื่อมั่นมีค่า Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.82- 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักและการหมุนแกนแบบตั้งฉากด้วยวิธี Varimax ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรสําคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พบว่า 1) บรรยากาศองค์การ มี 5 องค์ประกอบ คือ ความชัดเจน การให้รางวัล นวัตกรรม มาตรฐาน และความรับผิดชอบ 2) ความพึงพอใจใน งาน มี 2 องค์ประกอบ คือ ความพึงพอใจในงานภายนอก และความพึงพอใจในงานภายใน 3) คุณภาพชีวิตใน การทํางาน มี 5 องค์ประกอบ คือ ความเพียงพอและยุติธรรม การทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การพัฒนา ศักยภาพของบุคคล การทํางานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และความก้าวหน้าและความมั่นคงใน งาน และ 4) ความผูกพันต่อองค์การ มี 3 องค์ประกอบ คือ ความเชื่อมั่นอย่างสูงในการยอมรับเป้าหมายและ ค่านิยมขององค์การ ความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะดํารงความเป็นสมาชิกภาพในองค์การ และความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ในการ ทํางานเพื่อประโยชน์ขององค์การ The objective of this research was to analyze the components of important factors of human resource management. A total of 562 employees in the automotive and auto parts industries of Amata City industrial estate Thailand was the sample of this study. The instrument used to collect the data was the questionnaire. The result of Cronbach's alpha reliability coefficient test was 0.82-0.93. The data were analyzed by an Exploratory Factor Analysis carried out by using the methodology with principal component analysis as well as the orthogonal rotation with Varimax rotation method. The findings revealed that the studied important variables of human resource management were: 1) Organizational climate consisted of 5 components which were clarity, rewards, innovation, standards and responsibility; 2) Job satisfaction consisted of 2 components which were extrinsic satisfaction and intrinsic satisfaction; 3) Quality of work life consisted of 5 components which were self-sufficiency and justice, social relevance of work life, development of human capacities, social integration in work organization and growth and security 4) Organizational engagement consisted of 3 components which were a strong belief in acceptance of the organization’s goals and values, a strong desire to maintain membership in the organization and a willingness to exert considerable effort on behalf of the benefits of the organization.Downloads
Issue
Section
Articles