ระบบโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชื่อมโยงตามลําน้ำโขงไทย-ลาว กรณีศึกษา พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร-สะหวัน-เซโน และนครพนม-ท่าแขก

Authors

  • ประจวบ จันทร์หมื่น

Keywords:

ระบบโลจิสติกส์, การท่องเที่ยว, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, การท่องเที่ยวเชื่อมโยงไทย-ลาว

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงไทย-ลาว ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร-สะหวัน-เซโนและนครพนม-ท่าแขก โดยใช้แนวคิดระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่มองว่าโลจิสติกส์การท่องเที่ยว คือ กระบวนการสําคัญที่จะเชื่อมประสานกิจกรรมต่าง ๆ ในเส้นทางท่องเที่ยว ทําให้การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวลื่นไหลจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงสิ้นสุดการเดินทาง จนได้รับความพึงพอใจสูงสุดจาก นักท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ เชิงปริมาณ (Quantitative Research) วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดําเนินการโดยใช้กระบวนการสํารวจและสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นบุคคลสําคัญ ส่วนวิธีวิทยาเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงสถิติ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาอีกครั้ง เพื่อเขียนรายงานการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ 4 ประการ ดังนี้          ประการที่ 1 ความพร้อมของระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวบางระบบในจังหวัด นครพนม-มุกดาหารไม่สอดคล้องกันแขวงคําม่วนและแขวงสะหวันนะเขต ประการที่ 2 ในการประเมินระบบโลจิสติกส์ในจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร จํานวน 14 ตัวชี้วัด พบว่า มีตัวชี้วัดที่ทั้งสองจังหวัดขาดความพร้อม คือ 1) การบริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตสาธารณะในแหล่งท่องเที่ยว 2) การบริการจุดพยาบาล/หน่วยแพทย์ 3) การใช้พลังงานทางเลือกในแหล่งท่องเที่ยว 4) จุดต้อนรับนักท่องเที่ยวและจุดพักสําหรับนักท่องเที่ยว สาเหตุประการสําคัญของความไม่พร้อม คือ ยังไม่มีการกําหนดนโยบายระดับจังหวัดให้มีแผนพัฒนาระบบโลจีสติกส์การท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว ประการที่ 3 จากความไม่พร้อมในบางประการของระบบโลจีสติกส์การท่องเที่ยว ส่งผลให้การขับเคลื่อนนโยบายการท่องเที่ยว เชื่อมโยงไทย-ลาว ยังคงไม่สามารถพัฒนาความร่วมมือได้อย่างเต็มศักยภาพและจะมีผลให้นโยบายการเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลลาวจะเป็นไปอย่างล่าช้า         ประการที่ 4 เมื่อนําผลการศึกษามาวิเคราะห์ลักษณะเมืองนครพนมและมุกดาหาร พบว่า มีลักษณะแตกต่างกัน คือ นครพนมเป็นเมืองการท่องเที่ยวนําการค้า ส่วนมุกดาหารเป็นเมืองการค้านําการท่องเที่ยว ทั้งสองเมืองจําเป็นต้องกําหนดแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับลักษณะของเมือง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ เสนอให้จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร มีแผนพัฒนาระบบโลจีสติกส์การท่องเที่ยวให้ครบทั้ง 14 ตัวชี้วัด และเสนอให้มีการกําหนดพื้นที่ปฏิบัติการดําเนินการในแหล่งท่องเที่ยวสําคัญเพื่อเป็นต้นแบบ 2 แห่ง คือ 1) พระธาตุพนม อําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 2) อุทยานสมเด็จย่า อําเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และเสนอให้ทั้งสองจังหวัดกําหนดแนวทางการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง คือ ตัวเมืองนครพนมเป็นเมืองการท่องเที่ยวนําการค้า ส่วนตัวเมืองมุกดาหารเป็นเมืองการค้านําการท่องเที่ยว            The investigators aimed to study tourism logistics linkage ThailandLaos along the Mekong River, Mukdahan Special Economic Zone-Savan Seno and Nakkon Phanom- Thakhek, by using tourism logistics system viewing that the tourism logistics was a major process linking various activities along tourism route. This led the tourism to be in progress from starting point to destination and received the tourists’ highest level of satisfaction. This research used both qualitative research and quantitative research methods. Qualitative research methods proceeded by using the survey process and interviewing stakeholders who were important persons. For quantitative research method, the questionnaire was used to collect statistical data. Before analyzing descriptive data again to write a research report for the purpose. The research findings could be concluded in 4 issues as follows:          Firstly, there was no congruence between some systems of tourism logistics in Mukdahan and Nakon Phanom, and Kammuan and Savan- Seno. Secondly, with respect to the evaluation in 14 indicators of tourism logistics in Nakon Phanom and Mukdahan provinces, it found that both provinces had some indicators which were not ready including 1) the public internet service in tourism location, 2) the nursing point service/medical unit, 3) the alternative energy use in tourism location, and 4) the greeting place for tourists and resting point for tourists. The major causes of being not ready was that there was no provincial policy in development plan of tourism logistics in tourism location. Thirdly, some points in tourism logistics system were not ready. As a result, the movement of tourism policy linkage Thailand-Laos could not develop the cooperation with full potentiality. Consequently, the implementation of no edge pint in linkage policy between the Thai government and the Laos government was slow. Fourthly, according to the research finding analysis of Nakon Phanom and Mukdahan cities, it found that there were differences since Nakon Phanom was the city that tourism was dominant than trade. But, Mukdahan was the city that trade was more dominant than tourism. It was necessary for both cities to determine the provincial developmental plan being congruent with city character.          The recommendations of this study were: 1) Nakon Phanom and Mukdahan provinces should establish all of 14 indicators in the tourism logistics developmental plan, and 2) the implementation area should be determined in major tourism places for being a prototype in 2 locations: 1. Phra That Phanom, Thatphanom District, Nakon Phanom Province and 2. Somdejya Park, Dontal District, Mukdahan Province. In addition, both provinces should specify the guidelines or directions for city development to be congruent with economic, social, cultural, and political conditions: Nakon Phanom was the city that tourism was dominant than trade, and Mukdahan was the city that trade was more dominant than tourism.

Downloads