ระบอบประชาธิปไตยอันเป็นปฏิปักษ์กับเสียงข้างมาก
Keywords:
ประชาธิปไตย/ การเมืองไทย/ การเลือกตั้งAbstract
คำถามของบทความวิจัยนี้คือ ทำไมชนชั้นนำไทยจึงยินยอมให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 อันเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 8 ปีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้ายในประเทศไทย 5 ปีหลังรัฐประหารครั้งล่าสุดและมีลักษณะพิเศษหลายประการที่แตกต่างไปจากการเลือกตั้งในอดีต การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในระยะผ่านที่ประเมิน ความตั้งมั่นของประชาธิปไตยใน 2 ช่วงสำคัญคือช่วงก่อร่างวางฐาน (Installation) และช่วงลงหลักตั้งมั่น (Consolidation) เพื่อศึกษาปฏิบัติการทางการเมืองของชนชั้นนำไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลจากรัฐธรรมนูญ ข่าวและสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นภายหลังชนชั้นนำจัดแจงโครงสร้างและกลไกต่าง ๆ ตามระบอบประชาธิปไตยให้สามารถกำกับควบคุมเสียงข้างมากมิให้ริเริ่มเห็นชอบและดำเนินนโยบายที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอำนาจการเมืองและเศรษฐกิจได้ ซึ่งในบทความนี้เรียกระบอบดังกล่าวว่าระบอบประชาธิปไตยอันเป็นปฏิปักษ์กับเสียงข้างมาก This paper aims to give an analysis to why Thai elites granted the 24th March 2019 Election. This being the first general election in 8 years since the last election in Thailand and 5 years after the 2014 coup. The outcome paints a reflection containing a complex series of unusual events never seen before in the past elections. Within the study is the application of the transitional democracy concept, this evaluates consolidated democracy being held within 2 critical moments; installation and consolidation period, to study political operations of the Thai elites of the time. This analysis will utilize data obtained from constitutions and provided from various platforms of media. Findings display that the election taking place on 24th March 2019 was held only after the elites allowed this to take place. The paper give proposition to describe the regime as an anti-majoritarian democracy. Having managed to arrange structures and mechanism under a democracy regime to function against majority’s will to initiate, endorse, and implement political and economic restructuring policies.Downloads
Issue
Section
Articles