ชนชั้นกลางที่ “หมุนกลับ” กับประชาธิปไตย : ศึกษาเปรียบเทียบ ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และอียิปต์

Authors

  • ศิวพล ชมภูพันธุ์

Keywords:

ชนชั้นกลาง, ประชาธิปไตย, การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย

Abstract

          บทความชิ้นนี้ต้องการย้อนพินิจบทบาทชนชั้นกลางกับระบอบประชาธิปไตยทั้งในเชิงทฤษฎีและเหตุการณ์เชิงประจักษ์ในโลกร่วมสมัยผ่านกรณีศึกษา 3 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ไทยและอียิปต์ ด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสารและการเปรียบเทียบ การศึกษาชนชั้นกลางที่ผ่านมามักมีข้อเสนอว่าชนชั้นกลางเป็นหนึ่งในพลังสำคัญต่อกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า บทบาทของชนชั้นกลางเกิดการ “หมุนกลับ” จากที่เคยเป็นผู้ผลักดันและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยมาเป็นกลุ่ม ผู้ปฏิเสธระบอบประชาธิปไตย ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ชนชั้นกลางเป็นตัวแสดงที่ไม่มีความแน่นอนทางการเมืองหรือเป็นเพียงนักประชาธิปไตยโดยบังเอิญเท่านั้น           This article aims to revisit the middle class’s role in democracy empirically and theoretically by comparing three case studies; the Philippines, Thailand and Egypt by documentary research. Theoretically, the previous studies showed that the middle class is one of the positive major forces in the democratization process. This article, however, found that, because of the political contingent actors as well as contingent democrats, the middle class’s role has revolted from democratic transition forces to anti-democratic forces.

Downloads