ประชาธิปไตยไซเบอร์กับการพัฒนาคุณค่าของประชาธิปไตยในประเทศไทย
Keywords:
ประชาธิปไตย, ไซเบอร์, สื่อดิจิตอล, อินเทอร์เน็ต, การเมือง, คุณค่าของประชาธิปไตยAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความหมายของประชาธิปไตยไซเบอร์ในประเทศไทยและนานาชาติ ในงานศึกษารูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ และสร้างนิยามความหมายที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาประชาธิปไตยไซเบอร์ที่มีในปัจจุบันในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและกิจกรรมการเมืองในโลกไซเบอร์ในประเทศไทย และการพัฒนาให้เกิดความเป็นสถาบันทางการเมืองเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณค่าของประชาธิปไตยของไทย โดยศึกษาในกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. 2560-2561 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหารก่อนการกลับเข้าสู่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 โดยการสำรวจวรรณกรรม และกิจกรรมทางการเมืองในโลกไซเบอร์ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ประชาธิปไตยไซเบอร์ (Cyber Democracy) เป็นปรากฏการณ์ของกระบวนการประชาธิปไตยที่ปรากฏขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ (Cyber Space) และแม้ว่าสังคมจะอยู่ในยุคเผด็จการ แต่ประชาชนมีความพยายามที่จะพัฒนาและใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้โลกไซเบอร์มีคุณค่าประชาธิปไตยมากขึ้น โดยอินเทอร์เน็ตได้ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด และนำเสนอนโยบายภาครัฐมากขึ้น ในการสร้างตัวชี้วัดเพื่อกำหนดแนวทางให้ประชาธิปไตยไซเบอร์ให้กลายมาเป็นสถาบันทางการเมืองใหม่ในประเทศไทยนั้น จะต้องประกอบไปด้วย 4 มิติ ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาสังคมโดยการเพิ่มให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับระบอบการเมืองมากขึ้น การพัฒนาสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองให้เพิ่มมากขึ้น การสร้างระบบความมั่นคงปลอดภัยให้ประชาชนมากขึ้น และการส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งความรู้ อันจะช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย This research article aims to survey and make a comparative study of the meaning of cyber democracy from various academic works and actual activities in Thailand and the international one to search for a new meaning that is useful for the Thai case. The article also aims to study the role of internet technology and political activities in the Thai cyber space that leads to democratic development via the rise a new political institution. The research was conducted between 2017-2018 which was the last moment of the coup regime before the 2019 election. The research deployed literature review The research founds that cyber democracy is a phenomenon in which democratic activities and movements appear on the internet world or the “cyber space”. Despite the fact that Thailand had been in an authoritarian regime, people had struggled to develop and utilize internet technology to make the cyber world having more democratic value. Internet technology helps promote expression of people opinion and gives people more chance to participate in deciding and proposing public policy. This research suggests four elements to develop cyber democracy into a new political institution that helps improve the quality of democracy; i.e. 1) increasing people participation in the political regime, 2) enhancing civil rights and political freedom of the citizen; 3) building people-based cyber security; and 4) promoting a learning society that help develop democratic values.Downloads
Issue
Section
Articles