วาทกรรมประชารัฐในบริบททางการเมืองของประเทศไทย
Keywords:
ประชารัฐ, วาทกรรม, อุดมการณ์ทางการเมืองAbstract
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตสร้างความหมายของคำว่า “ประชารัฐ” ในฐานะวาทกรรมทางการเมืองในสมัยรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตลอดจนอิทธิพลทางการเมืองของวาทกรรมประชารัฐ ที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการศึกษาผ่านเอกสารราชการ สื่อโทรทัศน์ที่รัฐใช้สื่อสารกับประชาชน และบทความต่าง ๆ สรุปผลในเชิงวิเคราะห์และพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ผลิตสร้างความหมายของประชารัฐอย่างกว้างขวาง สรุปความได้ว่า เป็นความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ความสามัคคีไม่แตกแยก ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งพ้องกับอุดมการณ์ธรรมาภิบาล นอกจากนั้นยังผูกคำว่าประชารัฐเข้ากับชุดคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พิจารณาได้ว่าเป็นความพยายามที่จะยกย่องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการสื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะที่ผ่านมาสถาบันได้ถูกดึงเข้ามาอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง อย่างไรก็ตามการที่รัฐบาลได้นำคำว่า “ประชารัฐ” ไปผูกติดกับโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่มีลักษณะเป็นประชานิยม โครงการหลวง โครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน ๆ ทำให้ความหมายและอุดมการณ์ของวาทกรรมประชารัฐนั้นไม่ชัดเจน เสมือนการสร้างความรับรู้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองเพราะการปรากฏตัวขึ้นของคำว่า “ประชารัฐ” ในรัฐบาลชุดนี้มาพร้อมกับกลุ่มการเมืองที่ประกาศว่าจะสนับสนุนการดำรงตำแหน่งอีกสมัยของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และต่อมาได้กลายเป็นพรรคพลังประชารัฐขึ้นในที่สุด The purposes of this research are to study the meaning of “Pracharat” as the political discourse during the government period of General Prayut Chan-o-cha, including the political influence of “Pracharat” caused the change to political ideal of General Prayut Chan-o-cha era. This research were gathered data from the potential research through the study of government documents, television broadcast which government used to communicate with people and journal analysis papers. From the research, General Prayut Chan-o-cha widens meaning of “Pracahrat” to the cooperation of every unit, the important of unite. Moreover, they tied “Pracharat” to groups of word that related to the Royal Institution. This can be considered as to be loyal and respect the Royal Institution. It can be said that this tie caused disagreement from the past decades. However, the government also tied “Pracharat” to many projects either populism projects, royal projects or previous government’s projects which make the purpose of using the word of civil state unclear. It is likely to build the consciousness about political advantage of the politic group that support the government because the occurrence of “Pracharat” in this government came with politic group that later formed to be the Pra Cha Rat party.Downloads
Issue
Section
Articles