DEMOCRACY, DEVELOPMENTAL STATE AND NEO-AUTHORITARIANISM
Keywords:
รัฐพัฒนาการ, อำนาจนิยมใหม่, ประชาธิปไตย, การพัฒนา, Democracy, DevelopmentAbstract
This article aims to study democracy, developmental state and neo-authoritarian theories as many countries have entered the state of neo-authoritarian developmental states without necessarily being authoritarian states. Therefore, the author would like to understand how the states use development and economic growth as excuses to govern the markets. As well, the author practices literature review and documentary research to explore the theories and cases and conclude that democracy is not necessary when it comes to economic development and, on the other hand, authoritarianism is more effective for the countries to rapidly develop as it allows the countries to operate their chain of command. Developmental state theory was first mentioned by Charmer Johnson in describing Japanese context that its government had intervened the market in 1980-1990. Japan had been the model for economic development for developing countries in Asia and it was discovered that developmental state concept was implemented hand in hand with nationalist policies to assure that politics and economy would be operated towards the same direction, and to build cultural frame that the state is of and for the nation. In some cases, the state might have to “get the price wrong” to secure the nation’s targeted industries which is opposite to neoclassical economics’ idea of “getting the price right”. Apart from Japan, Korea and Taiwan are also models of developmental state where Taiwan is known for being neo-developmental state because it uses import-substitution industrialization and gives both direct and indirect support to private sector. However, states cannot freely impose economic policies in globalization era as international organizations are also in the picture. Therefore, they need to adapt economic policies to cope with globalization. Neo-authoritarian developmental state idea in Southeast Asian and Asian countries was formed by economic policies of Singapore and China that the states lead economic policies and reduce importance of democracy while putting primacy of politics in place as the main force that lets the states implement neo-authoritarian developmental state policies more effectively. As well, China is a model of a country that its economy has grown steadily though it is not a liberal democratic country. This article aims to clarify developmental state idea and neo-authoritarianism. บทความนี้ต้องการศึกษาทฤษฎีประชาธิปไตย รัฐพัฒนาการ และอำนาจนิยมใหม่เนื่องจากหลายประเทศได้เข้าสู่ภาวการณ์เป็นรัฐพัฒนาการอำนาจนิยมใหม่โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรัฐอำนาจนิยม ดังนั้น ผู้เขียนต้องการทำความเข้าใจว่ารัฐสามารถใช้การพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจมาเป็นข้ออ้างในการควบคุมตลาดได้อย่างไร และผู้เขียนได้ใช้วิธีทบทวนวรรณกรรมและศึกษาเอกสารต่าง ๆ ในการเขียนบทความนี้และได้ข้อสรุปว่าประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเมื่อเป็นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และในทางตรงกันข้าม หากประเทศใช้การบริหารตามแนวคิดอำนาจนิยมจะสามารถพัฒนาระบบเศรษฐกิจได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเพราะเป็นการสั่งการผ่านโครงสร้างการบังคับบัญชา แนวคิดรัฐพัฒนาการ หรือรัฐที่กระทำการพัฒนาเริ่มใช้ครั้งแรกในการอธิบายสภาวการณ์ที่รัฐเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาดในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปี ค.ศ. 1980-1990 โดยชาร์เมอร์ จอห์นสัน ซึ่งญี่ปุ่นถือว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้กับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในหลายครั้งการใช้แนวคิด รัฐพัฒนาการจะใช้ควบคุมไปกับนโยบายแบบชาตินิยมเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงเป็นการสร้างกรอบวัฒนธรรมให้คนในชาติว่ารัฐนั้นเป็นรัฐแห่งชาติและจะดำเนินงานเพื่อชาติ และในบางกรณีรัฐจะต้องทำให้กลไกราคาบิดเบือนหากจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมหลักที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนาของชาติ ซึ่งเป็นวิธีการที่ตรงกันข้ามกับแนวความคิดเศรษฐศาสตร์คลาสสิคใหม่ที่รัฐต้องทำให้กลไกราคาถูกต้องเสมอ นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้วยังมีประเทศเกาหลีและไต้หวันที่เป็นแบบอย่างประเทศรัฐพัฒนาการ แต่ไต้หวันถูกวางอยู่ในประเภทรัฐพัฒนาการใหม่เนื่องจากใช้การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและการวางนโยบายเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตามในยุคโลกาภิวัตน์การวางนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศจะไม่สามารถทำได้โดยอิสระเพราะมีองค์การระหว่างประเทศเข้ามาร่วมควบคุมทำให้ประเทศรัฐพัฒนาการต้องปรับนโยบายให้สอดรับกับโลกาภิวัตน์ แนวคิดรัฐพัฒนาการอำนาจนิยมใหม่ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียเริ่มก่อตัวขึ้นจากการวางนโยบายเศรษฐกิจของสิงคโปร์และจีนที่รัฐบาลเป็นผู้นำนโยบายเศรษฐกิจและลดความสำคัญของประชาธิปไตยลง และให้ความสำคัญกับการเมืองในฐานะเป็นแรงผลักดันหลักให้รัฐดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบรัฐพัฒนาการอำนาจนิยมใหม่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งจีนยังเป็นตัวอย่างประเทศที่มีพัฒนการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย บทความนี้จึงเป็นการคลี่แนวคิดรัฐพัฒนาการและอำนาจนิยมใหม่ให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ของสองแนวคิดนี้มากขึ้นDownloads
Issue
Section
Articles