ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

Organization Commitment of Government Officials in Central Office of the Department of Groundwater Resources

Authors

  • กรกฏ แน่นหนา
  • ปิยากร หวังมหาพร

Keywords:

ความผูกพันต่อองค์การ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, ข้าราชการส่วนกลาง

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 2) เปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่มีปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงาน ลักษณะขององค์การ และปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.784 การศึกษาในแต่ละด้านพบว่า ด้านความเต็มใจในการปฏิบัติงาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.319 สำหรับด้านความต้องการที่จะรักษาความเป็นสมาชิกขององค์การ และด้านความเชื่อถือและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.582 และ 3.517 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ข้าราชการส่วนกลางที่มีสถานภาพต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การ และปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์ต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  This is a quantitative research. The objectives of this research were 1) to study the level of organizational commitment of the government officials in central office of the department of groundwater resources 2) to compare the level of organizational commitment of these government officials classified by personal factors and 3) to study the relationship between job description, organizational characteristics, working experience and the organizational commitment of these government officials. This was a quantitative research and the samples were 143 government officials in central office of the department of groundwater resources. The data were collected by questionnaire and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA and Pearson Correlation Coefficient.  The findings revealed that the government officials in central office of the department of groundwater resources highly agreed with organizational commitment (average = 3.784). The study in each organizational commitment showed that they most agreed with working willingness (average = 4.319), highly agreed with desire of organization membership maintaining and organization goal and value confidence and acceptance (average = 3.582 and average = 3.517). The hypothesis testing indicated that marital status of the government officials caused difference in organizational commitment at the .05 level of significance. In addition, there were the relationship between job description, organizational characteristics, working experience and the organizational commitment of these government officials at the .05 level of significance.

References

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธัญญพัทธ์ ฉัตรชัยมงคล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธันยพร ทองประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานเจเนอเรชั่น วาย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). ค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิราวรณ์ พรหมกสิกร. (2560). ความผูกพันองค์การและผลการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปารณีย์ ทองยอดเกรื่อง. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พงศ์ภัค วิ่งเร็ว. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์รัฐประศาสนสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2557). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.).

สิทธิพันธ์ พุทธหุน, ชลิดา ศรมณี, เฉลิมพล ศรีหงษ์, เสาวลักษณ์ สุขวิรัช และวิโรจน์ ก่อสกุล. (2561). ความผูกพันขององค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงาน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(3), 876.

อภิญญา พึ่งฉิ่ง. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุน กรณีศึกษา : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารและพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Buchanan, B. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Manager in Work Organization. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.

Porter, L. W., & other. (1974). Organizational Commitment, Job Satisfaction, and Turnover Among Psychiatric Technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.

Steers, R. M. (1977). Organizational Effectiveness: A Behavioral View. California: Goodyear Publishing Company.

Downloads

Published

2022-10-28