การศึกษาผลกระทบทางกฎหมายกรณีที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน
A Study of Legal Implication for Thailand to Ratify the Violence and Harassment Convention (No. 190)
Keywords:
การให้สัตยาบัน, อนุสัญญาฉบับที่ 190 , พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รวมถึงกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้คุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและคุกคามสิทธิ 2) เพื่อศึกษาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ. 2019 3) เพื่อวิเคราะห์พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 รวมถึงกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้คุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามสิทธิเปรียบเทียบกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ. 2019 และ 4) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและคุกคามสิทธิให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยจากหนังสือบทความวิทยานิพนธ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดมาตรการในการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในการทำงานไว้โดยตรงแต่ก็มีหลักการบางประการของอนุสัญญาฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ. 2019 ปรากฏอยู่ในกฎหมายภายในของประเทศไทยหลายฉบับซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อใช้บังคับตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับแตกต่างกันไปโดยมิได้ใช้คุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามโดยเฉพาะและยังมีหลายประเด็นที่ไม่มีการบัญญัติไว้ตามหลักการของอนุสัญญาฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ. 2019 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่าควรมีการบัญญัติกฎหมายที่กำหนดมาตรการเพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามในการทำงานไว้เป็นการเฉพาะ โดยมีหลักการที่ครอบคลุมตามที่อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 190 กำหนดเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเพียงพอและสอดคล้องกับหลักการสากลอย่างไรก็ตามในระหว่างที่ยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสร้างความตระหนักให้ความรู้หรือวางแนวปฏิบัติที่ดีแก่นายจ้างลูกจ้างหรือสถานประกอบกิจการต่าง ๆเกี่ยวกับหลักการคุ้มครองแรงงานให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามในการทำงานเพื่อป้องกันยับยั้ง มิให้เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้นตลอดจนควรมีกลไกควบคุมตรวจสอบผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการควบคุมตรวจสอบสถานประกอบการนายจ้างหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมิให้กระทำการด้วยความรุนแรงหรือคุกคามต่อแรงงาน The purposes of this research were to: 1) study the Labour Protection Act B.E. 2541, including other laws related to the protection of labours from violence and harassment; 2) study the Violence and Harassment Convention, 2019 (No. 190); 3) analyze the Labour Protection Act B.E. 2541, along with other laws related to the protection of labours from violence and harassment comparing with the Violence and Harassment Convention, 2019 (No. 190) and 4) seek suggestions for the developing laws related to the protection of labours from violence and harassment in order to be appropriate and efficient. This study was a documentary research by using books, journal articles, theses and related electronic media It was found that Thailand does not provide the specific law enacted for protecting labours from violence and harassment. Although, there are some principles of the Violence and Harassment Convention, 2019 (No. 190) emerged into many domestic laws of Thailand, the laws are intended to be used as an enforcement in different purposes not for protecting labours from violence and harassment specifically. Moreover, many issues are not enacted for complying with the Violence and Harassment Convention, 2019 (No. 190) It was recommended that specific law should be enacted for protecting labours from violence and harassment at work and its principles comply with the Violence and Harassment Convention, 2019 (No. 190) in order to ensure that the protection of labours is appropriate, adequate and consistent with international principles. While specific law has not been nevertheless enacted, involved agencies should raise awareness, educate or set good practice for employers, employees or workplaces regarding the protection for labours from violence and harassment at work. Furthermore, there should be a mechanism performed by competent authorities for controlling and inspecting workplaces, employers or involved people in order to prohibit in all acts of violence or harassment against labours.References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2548). หลักความเสมอภาค. วันที่ค้นข้อมูล 6 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=657
เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2563). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จรีย์ ศรีสวัสดิ์. (2561). ความรุนแรงทางเพศพุ่ง เหตุแอลกอฮอล์กระตุ้น. วันที่ค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/21528
ปาริฉัตร รัตนากาญจน์. (2551). การล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อสตรีในที่ทำงาน: รูปแบบหนึ่งของการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พนาวรรณ จิตอารีย์รัตน์. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างไทยซึ่งทำงานบ้าน จากการกระทำอันรุนแรงของผู้ซึ่งเป็นนายจ้าง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พิชญา ลิมป์หวังอยู่. (2561). มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองลูกจ้างจากการคุกคามทางจิตใจในการทำงาน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลี นาคสุวรรณ. (2562). ยุติความรุนแรงทุกรูปแบบต่อลูกจ้างทำงานบ้าน. วันที่ค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.matichonweekly.com/special-report/article_250301
วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. (2562). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2563). สถิติแรงงานประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.International Labour Organization. (2019). C 190 Violence and Harassment Convention, 2019 (No. 190). Retrieved December 1, 2020, from https://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p= NORMLEXPUB:12100:0::NO::P12100_ILO_CODE:C190