แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุสู่การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

Guidelines for Social Welfare Development for the Elderly towards Enhancing the Health of the Elderly in Dong Ling Municipality, Kamalasai District, Kalasin Province

Authors

  • พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์

Keywords:

การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ, การเสริมสร้างสุขภาวะ, ผู้สูงอายุ

Abstract

          การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุสู่การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการ พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้ส้งอายุสู่การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลดงลิง จำนวน 5 คน และผู้นำชุมชนหรือผู้แทนชุมชน จำนวน 10 คน รวมเป็น 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) โดยใช้การวิเคราะห์สังเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า  1) รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลดงลิง มี 2 ลักษณะ คือ 1) การจัดสวัสดิการสังคมที่มาจากรัฐ 2) การจัดสวัสดิการสังคมที่มาจากประชาชนในท้องถิ่น  2) แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุสู่การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขต เทศบาลตำบลดงลิง พบว่ามี 3 แนวทาง คือ 1) การจัดสวัสดิการสังคมที่มุ่งเน้น การเสริมสร้างสุขภาวะด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านปัญญาหรือจิตวิญญาณให้กับผู้สูงอายุ 2) การจัดสวัสดิการสังคมที่หลากหลายสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) การจัดสวัสดิการสังคมจากฐานของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ The objectives of qualitative research on the guidelines for social welfare development of the elderly towards enhancing the health of the elderly in Dong Ling municipality, Kamalasai district, Kalasin province were: 1) to study the pattern of the social welfare of the elderly, and 2) to study the guidelines for social welfare development of the health promotion of the elderly. The main informants were 55 people, which consisted of 40 elderly people aged 60 years or older, 5 officers of the local government organization of Dong Ling municipality, and 10 community leaders. The research instrument included an in-depth interview and a focus group. Descriptive statistics were applied for the data analysis. The results of this research were as follows:  1) There were 2 patterns of social welfare arrangements for the elderly in Dong Ling  municipality: 1) the social welfare arrangements by state, and 2) the social welfare arrangements by local people.  2) The guidelines for social welfare development of the elderly towards enhancing the health of the elderly in Dong Ling municipality consisted of three ways as follows: 1) Social welfare management that aimed at promoting physical health, mental health, social health, and intellectual or spiritual health for the elderly; 2) various social welfare arrangements for the elderly  3) the management of social welfare came from the community’s for the elderly.

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). รายงานการศึกษาเรื่องทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทพเพ็ญวานิสย์.

กรกฤช ลิ้มสมมุติ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ ป้องกันแห่งประเทศไทย, 5(2), 153-161

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). นโยบายรัฐบาลด้านผู้สูงอายุ. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3pZII7A

กรมสุขภาพจิต. (2563). สังคมสูงอายุ. วันที่ค้นข้อมูล 30 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th.

กฤษณ์ ภูรีพงศ์ และคณะ. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุใน ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 1-17.

กิตติ ทวีทรัพย์. (2556). กองทุนสวัสดิการชุมชนกับนัยยะที่มีต่อประชาคมอาเซียนในอนาคต: กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการ ชุมชนตำบลเขาคราม จังหวัดกระบี่. รายงานการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการทูต. กรุงเทพฯ: สถาบันต่างประเทศเทวะวงศว์โรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และคณะ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-97

ณัฏฐสิชา ภาภัคธนานันท์. (2562). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 13.

เทศบาลตำบลดงลิง. (2563ก). แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลดงลิง. วันที่ค้นข้อมูล 25 กรกฏาคม 2564, เข้าถึงได้จาก. http://www.dongling.info/แผนพัฒนาท้องถิ่น%20เทศบาลตำบลดงลิง.pdf

เทศบาลตำบลดงลิง. (2563ข). ข้อมูลรายชื่อผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ. วันที่ค้นข้อมูล 27 กรกฏาคม 2564, เข้าถึงได้จาก. http://www.dongling.info/index

พรรณภัทร ใจเอื้อ. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์วิทยาลัยสงฆ์ นครสวรรค์, 8(3), 39-54

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. วันที่ค้นข้อมูล 25 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/acer/Downloads/ThaiElderly_2563.pdf

ระพีพรรณ คำหอม. (2557). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

ระพีพรรณ คำหอม และคณะ. (2549). รายงานวิจัยเรื่องการประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการบทบาทรัฐและองค์กรชุมชนกับผู้สูงอายุไทย สถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต. (หน้า 23-24). ม.ป.ท.

ฤทธิชัย ชุนสิทธิ์. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล: ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). ศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน: กลไกการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้

เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. (2555). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององคก์รปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(1), 146-165.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), 79.

สุนทร ปัญญะพงษ์. (2560). รูปแบบการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 5(3), 1-16.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและการเคหะจังหวัดกาฬสินธุ์. วันที่ค้นข้อมูล 2 กรกฏาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://kalasin.nso.go.th

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2550). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. วันที่ค้นข้อมูล 20 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.oppo.opp.go.th

อนุวัตร์ รจิตานนท์. (2563). นโยบายและสวัสดิการสังคมเกี่ยวกับผู้สูงอายุของ เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ ธานี. ม.ป.ท.

อัจศรา ประเสริฐสิน และคณะ. (2561). สุขภาวะของผู้สูงอายุ: แนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสุขศึกษา, 41(1), 1-15.

อิงฟ้า สิงห์น้อย และรัฐชาติ ทัศนัย. (2561). นโยบายสาธารณะ:การบริหารและการจัดการภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 610-623.

Khaichaiyaphum, P. (2011). Welfare Needs of the Elderly in Nonthai Municipality, Nonthai District, Nakhon Ratchasima Province. Independent Study. M.A. Khon Kean University.

Mahidol University. (2015). Institute for Population and Social Research Thailandometers. Retrieved June 26, 2021, fromhttp://www.thailandometers.mahidol.ac.th

The Secretariat of the National Legislative. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560. (April 6, 2017). Government Gazette. The Secretariat of the National Legistative.

Downloads

Published

2022-10-30