การพัฒนาระบบการจัดการเพื่อการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาจังหวัดลำปาง
The Development of the Management Model to Drive Knowledge from Research to the Lampang Provincial Development
Keywords:
การบริหารจัดการงานวิจัย, การพัฒนาจังหวัด, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการเพื่อการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาจังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการพัฒนาระบบ กลไกการบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัดลำปาง และเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชนด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาจังหวัดลำปาง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การพัฒนาจังหวัดลำปาง เนื่องด้วยการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภายใต้แนวความคิด “หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล” มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยแนวคิด “หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการงานวิจัย ให้กับคณะต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการควบคู่ไปกับโครงการสร้างนักวิจยัเพื่อพัฒนาพื้นที่หรือรับใช้สังคมภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สกว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยคาดหวังให้คณะสามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบพัฒนาโจทย์การวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้การวิจัย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในส่วนของปัจจัยนำเข้าที่ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโจทย์การวิจัยแล้ว ข้อคิดเห็นจากหน่วยงานยุทธศาสตร์จังหวัดมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในส่วนของการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล หรือการพิจารณาหาโจทย์วิจัยในพื้นที่นั้นควรมีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสู่การกำหนดประเด็นในการวิจัยซึ่งการการวิจัยที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่เป็นไปตามความต้องการของนักวิจัย (Demand) โดยยังขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในระดับจังหวัด (Supply) 2. ระบบการติดตามและสนับสนุนการทำวิจัยในส่วนของกระบวนการในการ สนับสนุนการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาจังหวัด นอกจากกระบวนการทำวิจัยในเชิงพื้นที่ที่ประกอบด้วยการร่วมมือกัน โดยการใช้การวิจัยเป็นฐานการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการวิจัยแล้ว ควรมีการสนับสนุนให้เกิดการดำเนินการร่วมกันระหว่างเครือข่ายและหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัย เช่น การประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยและหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์การลงพื้นที่ในการดำเนินการวิจัยร่วมกันรวมถึงมหาวิทยาลัยควรมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 3. ระบบการขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น ในส่วนของกระบวนการขับเคลื่อนงานวิจัยโดยการนำเสนอผลงานวิจัยต่อผู้ใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอผลงาน วิจัยสู่หน่วยงานในระดับจังหวัดแล้ว มหาวิทยาลัยควรมีการสังเคราะห์งานวิจัยที่มีลักษณะเดียวกัน ที่ดำเนินการ โดยหลายแผนงานวิจัยรวมถึงโครงการย่อยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งโครงการตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ นำไปสู่การเสนอแนะในเชิงนโยบายและนำไปสู่การตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับจังหวัด This study explored the development of the management model to drive knowledge from research to the provincial development. This study aims to find the development of the management model to drive knowledge from research to the provincial development and to develop the model for building a network of cooperation with public sector and private sector for Development Lampang Province. This research is the qualitative research Use the data collection tool as focus group discussion by key informants from agencies involved driving research to the provincial development. Based on the management of spatial research of Lampang Rajabhat University under the concept of “One Faculty, One Model”. The concept of “One Faculty, One Model” aims to create the research management system for the faculties participating in the project, and organize the project to create researchers to develop areas or serve society under budget support from TRF and Lampang Rajabhat University. It is expected that these faculties will be able to use the research process as a tool for the development of area. The results were as follows. 1. The system for the development of research problems and research proposals: It is operated to allow research to responds to the needs of the research users, including community input, government organizations, private sector and educational institutions that are important parts in the development of research problems. The provincial strategic agencies also have additional opinions and comments on the part of data collection or consideration of research problems in that area. It is recommended that the relevant organizations or officers in the area should participate in the data collection process to bring about the determination of research problems. Most of the previous research was based on the needs of researchers (Demand), but it lacked participation from agencies who were the research users at the provincial level (Supply). 2. The system for monitoring and supporting research: In terms of the process of supporting research conduction for provincial development, in addition to the spatial research process that consists of research-based collaboration and facilitation of research conduction, collaboration between networks and research users should be encouraged. For example, the meetings between researchers and agencies who are the research users and field trips for jointly conducting research should be organized. The university should also have a central organization that acts as a link between researchers and research users. 3. The system for driving research to local development: Apart from the process of driving research by presenting research results to research users in various forms such as organizing an exhibition to present research results to originations at the provincial level, the university should synthesize the research with the similar concept carried out by several research projects and related sub-projects in order to visualize the whole project from upstream to downstream, which will lead to policy recommendations and provincial development strategies.References
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2560). การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. วันที่ค้นข้อมูล 20 มิถุนายน 2560, เข้าถึงได้จาก https://www.sem100library.in.th/opac/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001543
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท. (2558). คู่มือการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบทและด้านความมั่นคง. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการ.
ฉัตรนภา พรหมมา. (2551). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนานักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและองค์กรท้องถิ่น เขตภาคเหนือตอนล่าง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. เอกสารอัดสำเนา.
ปิยะวัติ บุญ-หลง. (2558). โครงการพัฒนาเครือข่ายวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและเครือข่ายการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วิพัฒน์ หมั่นการและคณะ. (2558). โครงการพัฒนาการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดลำปาง ภายใต้แนวคิด “หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล”. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2556). กระบวนการงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ แนวทางการพัฒนางานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด.
ลีลาภรณ์ บัวสาย. (2551). ABC: การวิจัยรูปแบบใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).