การยกระดับความสามารถการใช้ระบบ e-Filing ของผู้ยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

Elevating Personal Income Taxpayer’s Potential to Use e-Filing

Authors

  • เจตพล ติปยานนท์
  • ฑิฆัมพร ทวีเดช

Keywords:

ภาษีอิเล็กทรอนิกส์, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ผู้เสียภาษี, e-Filing

Abstract

วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจวิธีการยกระดับความสามารถการใช้ระบบ e-Filing และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบ e-Filing ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้ยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ปราจีนบุรี จำนวน 505 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามด้วยวิธีสะดวก ระหว่างวันที่ 15 ม.ค. – 28 ก.พ. พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และถดถอยพหุคูณ ประมวลผล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า วิธีการยกระดับความสามารถการใช้ระบบ e-Filing ได้แก่การมีโปรแกรมจำลองจัดอบรมการใช้งานระบบ มีระบบตอบคำถามให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาการใช้งานตลอดเวลา มีบริการเครื่องคอมพิวเตอร์และเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแนะนำและสอนการยื่นภาษีในระบบภาษีออนไลน์ สำหรับตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบ e-Filing ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี The objectives were survey procedure for Elevating potential to use e-Filing and determining factors that affect to Personal Income taxpayer’s behavior don’t use e-Filing. Population and sampling were Personal Income taxpayers at Revenue Department in Prachinburi Province; 505 sampling. Collecting data with Questionnaires by Convenience Sampling. During 15 Jan –28 Feb. 2021., Statistically analyzed data by frequency, percentage, mean, standard deviation and Multiple regression. Process by Statistical Package for the Social Sciences.  The results showed Procedure for Elevating potential to use e-Filing such as Simulation Software, training to use system, Question & Answers solution problems in real time, Desktop computer service and revenue advisors advise and teach to use e-Filing. Determining factors that affect to Personal Income taxpayer’ s behavior don’ t use e-Filing were lacking of Tax Structure knowledge and understanding.

References

กรมสรรพากร. (2562). รายงานประจำปี. วันที่ค้นข้อมูล 3 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://download.rd.go.th

กองวิชาการแผนภาษี. กรมสรรพากร. (2562). แผนยุทธศาสตร์ กรมสรรพากร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565. กลุ่มวางแผนและประเมินผล กรมสรรพากร. วันที่ค้นข้อมูล 3 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก www.rd.go.th/fileadmin

กุสุมา ดำรงชัย และกุหลาบ ปุริสาร. (2561). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 8(1), 124-132.

ชัชชญา เสริมพงษ์พันธ์. (2560). การพยากรณ์ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิชานันท์ ชาวนา. (2559). ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1. งานนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประชา ตันเสนีย์. (2553). การเลือกใช้โปรแกรม LISRELมาช่วยในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก www.drpracha.com

พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2560). การพิสูจน์ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรง. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 119-148.

ฟ้ารฬิณฑ์ ฟ้าฎษิฐกล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

โมกขนันต์ โชติชูช่วง. (2563). แรงจูงใจในการชำระภาษีอากรออนไลน์ของผู้ประกอบการในเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึงได้จาก www.mpa-mba.ru.ac.th.

วิภาดา สุขสวัสดิ์. (2558). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจของผู้เสียภาษีอากรที่มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์. กรมสรรพากร (2560). คำแนะนำการลงทะเบียนยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 และ 94 ผ่านอินเทอร์เน็ต. กรมสรรพากร. วันที่ค้นข้อมูล 3 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://rdserver.rd.go.th.

ฬุลิยา ธีระธัญศิริกุล และสุพรรณี พุทธรัตน์. (2559). ความรู้และทัศนคติของผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(6), 204-213.

อนันธิตรา ดอนบรรเทา. (2560). ปัญหาและสาเหตุการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในตำบลลานดอกไม้ตก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึงได้จาก https://fms.kpru.ac.th/fms-portfolio/23564/

อาริศรา นนทะคุณ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอมอร พลวัฒนกุล และสมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร. (2550). สาเหตุของการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาการจัดการ, 25(1), 1-11.

Hair, J. F., William C. B., Babin, B. J. (2010). Multivariate Data Analysis (7 Thed.). London: Pearson Education.

Downloads

Published

2022-10-30