ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน

The achievement on the implementation of drug prevention and suppression policy of narcotics prevention and suppression operation center in Songkhwae district, Nan province

Authors

  • สุจินต์สะพัด ศิริบูรณ์
  • ปิยากร หวังมหาพร

Keywords:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, ยาเสพติด, ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, นโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, Policy implementation, Narcotics, Narcotics prevention and suppression operation center, Drug prevention and suppression policy

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ ของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน  การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน จำนวน 157 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม  สถิติในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณเชิงเส้นตรง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย - 424) เมื่อจำแนกเป็นรายค้าน พบว่า ค้านการมีประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.26) รองลงมาคือ ด้านการมีประสิทธิภาพของการนำนโยบายไปปฏิบัติคู่อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.25) และด้านการตอบสนอง อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.20) และระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว  จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.34)เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านสมรรถนะขององค์การ (ค่าเฉลี่ย = 4.46) รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำและความร่วมมือ (ค่าเฉลี่ย = 4.38) และด้านการวางแผนและควบคุม และด้านการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก (ค่าเฉลี่ย = 4.26) ทั้งนี้ ปัจจัยด้านที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว  จังหวัดน่านมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 4 ปัจจัย เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผนและควบคุม (X1, Beta = 0.459), ด้านภาวะผู้นำและความร่วมมือ (X3, Beta =0.194), ค้านสมรรถนะขององค์การ (X2, Beta = 0.143),และด้านการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก (X4, Beta = 0.139) และพบว่า ปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ เรื่องของการแต่งตั้งโยกย้ายของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และด้านสมรรถนะขององค์การในเรื่องของการขาดแคลนบุคลากร และได้รับการจัดสรรอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน  The purposes of this research were 1) to study the level of the achievement of the narcotics control board of Songkhwae district of Nan province   2) to study factors that affect The achievement of the narcotics control board of Songkhwae district of Nan province and 3) to study the problems and obstacles in implementation to solve the problems of narcotics according to the narcotics control board of Songkhwae district of Nan province. This research is mixed method research. The sample groups in quantitative research are the working group of the Narcotics Prevention and Suppression Center, Songkhwae district, Nan province, amounting to 157 people. The instrument used was a questionnaire. The statistical analysis was frequency, percentage, mean, standard deviation. linear multiple regression analysis. For qualitative research, key informants were 15 people from the Narcotics Prevention and Suppression Center working group, Songkhwae district, Nan province. Data were collected from the interview form and data were analyzed by content analysis. The research findings were: the level of achievement of the narcotics control board of Songkhwae district of Nan province was found with the highest lever (average = 4.24). After the analysis, it can be arranged by order with a mean value from the highest to the lowest, the effectiveness of the policy implementation aspect had the mean value of 4.26. Next, it was the effectiveness of the policy implementation aspect which had a mean value of 4.25. and the lowest aspect was the response aspect had the mean value of 4.20. The degree of factors, affecting the achievement of the narcotics control board of Songkhwae district of Nan province in overall was found with the highest level (average = 4.34). After the analysis, it can be arranged by order with a mean value from the highest to the lowest. The performance of the organization aspect had a mean value of 4.46. Next, it was the leadership and cooperation aspect which had a mean value of 4.38 and the lowest aspect was the planning and control, and the political and external environment aspect which both had a mean value of 4.26. Factors which statistically affected the achievement of the narcotics control board of Songkhwae district of Nan province area at 0.05 were found with 4 factors which were; the planning and control factor (X1, Beta = 0.459) leadership and cooperation factors (X3, Beta = 0.194), the performance of the organization factors (X2, Beta = 0.143), and the political and external environmental management factor (X4, Beta 0.139). The most common problems and issues we found that the narcotics control board of Songkhwae district of Nan province officer's appointment and transferring, lack of human resource, contributing to the organization's   potency and insufficient equipment, distributing for duties.

References

ชินภัทร สารสิน. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวน : ศึกษากรณีกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด. วิทยานิพนธ์มนุษยวิทยามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิราภรณ์ สายอ้าย. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: บริษัททรัพย์สุรีย์จำกัด

พสกพร สุขุมมะสวัสดิ์ และธนวัฒน์ พิมลจินดา. (2562). การนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 9(2), 105-124.

ระพีพันธ์ โพนทอง, พรนภา เตียสุธิกุล และภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2559). ผลการนานโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 41-53.

วรเดช จันทรศร และลิขิต ธีรเวคิน. (2530). การนำนโยบายไปปฏิบัติในระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฏีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

วัลลภา บุณยมานพ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนแออัดเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2562). นโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล. วันที่ค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://spm.thaigov.go.th/CRTPRS/spm-sp-layout6.asp?i=41111%2E 42323702112113121111311

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). แผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Holwick, J.W. (2009). Assessment of Institutional Strategic Goal Realization: A Case Study. Doctor of Philosophy Dissertation, School of Education, Capella University, U.S.A.

Likert, R.A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6(4), 477.

Downloads

Published

2022-10-30