การประเมินสถานภาพองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะช่วงปี พ.ศ. 2550 - 2564

State of the Art Appraisal in Public Policy of Thailand During B.E.2550-2564

Authors

  • สุปราณี ธรรมพิทักษ์
  • อุษณากร ทาวะรมย์

Keywords:

การประเมิน, สถานภาพองค์ความรู้, นโยบายสาธารณะ, Appraisal, State of the Art, Public Policy

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการศึกษาเอกสาร ได้แก่ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก และวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่มีประเด็นเนื้อหางานวิจัยเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะในช่วงปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2564 จากฐานข้อมูล ThaiLIS (Thai Library Integrated System) และใช้คำสำคัญในการสืบค้น ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การประเมินผลนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย การจัดทำนโยบาย ข้อเสนอเชิงนโยบาย ปัญหานโยบาย นโยบายสาธารณะ พบว่ามีงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะจำนวน 209 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบวิธีการจัดหมวดหมู่ข้อมูล จากนั้นใช้วิธีแจงนับข้อมูลและคำนวณร้อยละ ผลการประเมินสถานภาพองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะในภาพรวม พบว่า เป็นงานวิจัยในระดับปริญญาโท ร้อยละ 83.25 เมื่อพิจารณาแนวคิดทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย พบว่า ร้อยละ 98.56 ผู้วิจัยสร้างงานวิจัยโดยใช้ทฤษฎี แนวคิดหรือกรอบแนวคิดตามแนวทางที่เคยมีการทำกันแล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.98 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า สำหรับประเด็นคำถามหลักในการวิจัยพบว่า ร้อยละ 48.33 ผู้วิจัยผลิตงานวิจัยโดยมุ่งตั้งคำถามหลักในการวิจัยเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลนโยบายเป็นหลัก สำหรับสถานการณ์การทำวิจัยด้านนโยบายสาธารณะ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.21 ดำเนินการวิจัยภายใต้แนวทางการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ร้อยละ 10.05 ดำเนินการวิจัยภายใต้แนวทางนโยบายศึกษา (Policy Studies) และร้อยละ 5.74  ดำเนินการวิจัยภายใต้แนวทางนโยบายศาสตร์ (Policy Science) ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์  พบว่า  ร้อยละ 53.26 มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปพัฒนาพัฒนาหน่วยงาน รองลงมาร้อยละ 27.20 มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปพัฒนานโยบาย และร้อยละ 12.74 มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปพัฒนาประชาชน  The objectives of this research is to assess the status of the public policy in Thailand. Its methodology was a documentary based qualitative research exploring the secondary sources of related research works, dissertations and thesis on public policy during B.E.2550- 2564 from ThaiLIS (Thai Library Integrated System). The searching keywords were policy design, policy implementation, policy assessment, policy analysis, policymaking, policy recommendation, policy problems, and public policy. It was found that there were 209 research works. Data collected from the data record forms were analyzed with content analysis of contextual unit through categorization. The results revealed that 83.25% were thesis.  Upon reflecting on the theoretical concepts applied for working by the researchers, it was found that 98.56% they applied previous theories, concepts or conceptual frameworks and mostly 44.98% were qualitative researches. 48.33% of the main research questions were mostly imposed on policy assessment. The researches were mostly conducted under the scope of policy analysis at 84.21% while 10.05% were under the policy studies and 5.74% based on policy science. Another 53.26% were focusing on the questions of the agency development followed by 27.20% on policy development and 12.74% on developing people.

References

เกษียร เตชะพีระ และคณะ. (2558). เปิดกล่องนโยบายสาธารณะ : หลากมุมมองในการศึกษานโยบายสาธารณะร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โชคชัย สุทธาเวศ. (2554). หลักการและเทคนิคการประเมินสถานภาพองค์ความรู้. นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2557). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). หลักรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศุภกานต์ โสภาพร และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2562). สถานภาพองค์ความรู้ของรัฐประศาสนศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่าง พ.ศ. 2547 –2560. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 8(2), 25-51.

ศุภกานต์ โสภาพร ณัฏฐชัย เอกนราจินดาวัฒน์, ธีรารัตน์ อำนาจเจริญ และวลีรัตน์ แสงไชย. (2565). 14 ปีของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ในอีสานว่าด้วยนโยบายสาธารณะ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12(1), 108-137.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2552). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). กรอบแนวคิดการศึกษานโยบายสาธารณะ. วิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 11(33), 1-16.

อลงกต วรกี. (2561). ศึกษาการสังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมไทย. วารสาร วิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), 260-272.

อิงฟ้า สิงห์น้อย และ รัฐชาติ ทัศนัย. (2561). นโยบายสาธารณะ: การบริหารและการจัดการภาครัฐ. สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 610- 623.

Dye, T.R. (2011). Understanding public policy (13 ed.). New York: Longman.

Golembiewski, R. T. (1995). Practical Public Management. New York: Marcel Dekker.

Hill, M. (1997). The Policy Process in the Modern State. 3rd ed. Hertfordshire: Prentice Hall Harvester Wheatsheaf.

Hogwood, B. W. & Gunn, L. A. (1984). Policy analysis. New York: Oxford University Press.

Kuhn, T. S. (1970). The Structure of Scientific Revolutions. Chicago: Chicago University Press

Lasswell, H., D. (1971). A Pre-View of Policy Sciences. New York: American Elsevire Pub. Co.

Lasswell, H. D., & Kaplan, A. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University Press.

Popper, K. (1959). The Logic of Scientific Discovery. London: Routledge.

Downloads

Published

2023-01-19