แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

The Guidelines to Develop potential of Innovative Business Management for Competitive Advantage Community-Based Enterprises in Pathumthani Province

Authors

  • สนิทเดช จินตนา
  • สุพิศ บุญลาภ

Keywords:

วิสาหกิจชุมชน, ศักยภาพของการจัดการธุรกิจ, Community-based enterprises, The potential of business management

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับศักยภาพการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม 2) ศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีจำแนกตามปัจจัยทางธุรกิจ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของศักยภาพการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีและ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาครั้งนี้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed-method design) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ประธานและรองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 283 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคคลในองค์กรวิสาหกิจและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน จำนวน 16 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interviews)โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง และการวิเคราะห์แบบพรรณนาข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าประเด็นที่ 1 วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีส่วนใหญ่มีการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมโดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้านโดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 รองลงมาคือ ด้านพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 และด้านกลยุทธ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 ตามลำดับและมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางอีก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 และด้านการตลาดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61 ประเด็นที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจในจังหวัดปทุมธานีที่มีประเภทของวิสาหกิจชุมชน จำนวนสมาชิก ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการรายได้ต่อปีและช่องทางการจัดจำหน่ายต่างกันมีการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประเด็นที่ 3 การจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม 2 ตัวแปรได้แก่ ด้านกลยุทธ์ และด้านผลิตภัณฑ์และบริการมีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และประเด็นที่ 4 แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมด้านกลยุทธ์ ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนากระบวนทัศน์ของผู้บริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีวิสัยทัศน์มีกระบวนการวางแผนทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ ส่วนด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ควรส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการในรูปแบบใหม่ ๆ น่าสนใจเป็นที่ต้องการของตลาด โดยอยู่ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  This research aims (1) to explore the potential of innovative business management (2) to compare the potential of innovative business management base on business factors (3) to explore factors influencing innovative business management and (4) To present a guideline to develop potential of innovative business management for competitive advantage community-based enterprises in Pathumthani province. The research method was using mixed-method design. The samples size of research were 283 president and vice president in community-based enterprises of Pathum Thani province and 16 Important persons in government who related to develop potential of community-based enterprises in Pathumthani province. The instrument used in this study was a questionnaire and Interview Form. The statistics used in data analysis composed of frequency, percentage, mean and standard deviation. T-test, One-way ANOVA, and Multiple regression analysis (MRA) with coefficient of determination (R2) at statistical significance of .05 were used for hypothesis test. The results found that (1) most of the community entrepreneurs in Pathum Thani Province were a moderate level of overall of the innovative business management. When considering each aspect, it was found the high level of three aspects; product and service, behavior, and strategy, while the process and marketing was in a moderate level respectively. (2) Hypothesis testing showed that community-based enterprises with different Types of community enterprises, number of members, period of operation, annual income and distribution channels are different were Significantly related to innovative business management at the 0.05 level. (3) the innovative business management were significantly influencing to competitive advantage of community-based Enterprises in Pathum Thani province at the 0.05 level. And (4) The guideline to develop potential of innovative business management were In terms of strategy, knowledge development should be promoted. and the development of a paradigm of community enterprise executives in the   vision There is a systematic business planning process. products and services Community enterprises should be encouraged to develop new products and services that are attractive and in demand in the market. under cultural diversity.

References

กมลวรรณ สังทอง และคณะ (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, ปีที่ 12, ฉบับที่ 2, หน้า 211-220.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564ก). รายชื่อวิสาหกิจชุมชนดีเด่น. ค้นหาเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ.2564 เข้าถึงได้จาก http://smce.doae.go.th/smce1/award/report.php?award_type_id =&level=province&year=2563&region_id=&province_id=25.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564ข). จำนวนวิสาหกิจชุมชน. ค้นหาเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ.2564 เข้าถึงได้จาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php? report_ id=17.

จันทิมา พรหมเกษ, จักเรศ เมตตะธำรง, และวรรณิดา สารีคำ. (2562). ผลกระทบของศักยภาพผู้ประกอบการสมัยใหม่ และนวัตกรรมการตลาดที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. Suranaree J. Soc. Sci., ปีที่ 13, ฉบับที่ 2, หน้า 79 – 96.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สงขลา : สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการจังหวัดปทุมธานี, การสื่อสารระหว่างบุคคล (สัมภาษณ์), 7 มิถุนายน 2564)

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). วางกลยุทธ์ธุรกิจให้ถูกจุด กับ TOWS Matrix. ค้นหาเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://www.popticles.com/business/tows-matrix/.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2563). การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออก ในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. SOUTHEAST BANGKOK JOURNAL, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 41 – 54.

สนิทเดช จินตนา และสุพิศ บุญลาภ. (2564). การศึกษาศักยภาพการใช้งานนวัตกรรมดิจิทัลของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, ปีที่ 23, ฉบับที่ 1, หน้า 15 – 30.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญ ต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, ปีที่ 33, ฉบับที่ 128, หน้า 50 – 65.

สมเกียรติ สุทธินรากร. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. Dusit Thani College Journal, ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, หน้า 270 – 283.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ค้นหาเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/ document/ SAC/NS_PlanOct2018.pdf.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. ค้นหาเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://creation.smartcatalogue.com/public /products/user_000756/00002211/pdf/200921140602-0000002211.pdf.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อนุวัต สงสม. (2562). ผลของความสามารถทางนวัตกรรมที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities, Social Sciences and arts, ปีที่ 12, ฉบับที่ 3, หน้าที่ 821 – 835.

อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ทุนมนุษย์เชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 1572 – 1589.

Artz, Kendall W., and others. (2010). A longitudinal study of the impact of R&D, patens, and product innovation on firm performance. Journal of Product Innovation Management, Vol. 27, No. 6, p.p. 725-740.

Crossan, Mary M., and Apaydin, M.. (2010). A multi-dimensional framework of organizational innovation: A systematic review of the literature. Journal of

Management Studies, 47, 6 (September), p.p. 1154-1191.

Edison, Henry, Nauman bin Ali, and Richard Torkar. (2013). Toward innovation measurement in the software industry. The Journal of Systems Software, Vol. 86, No. 5, p.p. 1390-1407.

Hana, U.. (2013). Competitive Advantage Achievement through Innovation and Knowledge. Journal of Competitiveness, Vol.5, No.1, p.p. 82-96.

International Institute for Management Development. (2021). World Competitiveness Ranking. Retrieve from https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/ world-competitiveness/.

Jintana, S., Kosidphokin, K.. (2022). The study of innovative management toward competitive advantage of community-based enterprises in Thailand. Academy of Strategic Management Journal, 21 (4), 1-11.

McKeown, Max. (2008). The truth about innovation. London: Prentice Hall.

Oslo Manual. (2018). Guidelines for Collecting, Reporting and Using Data on Innovation. (Fourth Edition). Paris : Oslo Manual.

The Global Innovation Index. (2020). The interactive database of the GII 2020 indicators. Retrieved from https://www.globalinnovationindex.org/ analysis-indicator.

Wang, C.L., & Ahmed, P.K. (2004). The development and validation of the organizational innovativeness construct using confirmatory factor analysis. European Journal of Innovation Management, Vol.7, No.4, 303-313.

Downloads

Published

2023-01-19