กรณีศึกษาความสำเร็จของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้

A Case Study of The Success of The South Korean Entertainment Industry

Authors

  • กรณ์ โรจนวงศ์สกุล

Keywords:

กระแสความนิยมเกาหลี, อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม, เกาหลีใต้, พลังอำนาจอ่อน, Hallyu, Cultural Industry, South Korea, Soft Power

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อเท็จจริงในการส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงของรัฐบาลเกาหลีใต้ (2) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ของภาคประชาชนและภาคเอกชน และ (3) ให้ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงไทยต่อรัฐบาลไทยผ่านกรณีศึกษาของอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ โดยใช้วิธีการค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้ ซึ่งใช้วิธีการเขียนแบบทบทวนวรรณกรรม และใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) รัฐบาลเกาหลีให้เงินทุนสำหรับการผลิตซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีใต้ และยกเลิกกฎหมายการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรม (2) ภาคประชาชนทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาทางวัฒนธรรมด้วยวิธีการับชมซีรีส์เกาหลี ส่วนภาคเอกชนทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเชิงสร้างสรรค์ให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และ (3) รัฐบาลไทยส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงไทยผ่านยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดีทัศน์ทั้ง 3 ระยะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2564  The objectives of this article were: (1) to study the facts for promotion the South Korean entertainment industry; (2) study the model for the public and private sector involvement in the growth of the South Korean entertainment industry; and (3) to provide recommendations for encouragement of the Thai entertainment industry to the Thai government based on a case study of the South Korean entertainment industry. Research methods are based on finding information from books, theses, academic articles and electronic media, both Thai and English, related to the South Korean entertainment industry. Use the methodology to prepare a literature review, and utilizing qualitative research methods through content analysis. As a result of the study found that: (1) the Korean government finances the production of South Korean series and films and repeals laws that prevent creative production of cultural products; (2) the public sector controls the quality of culture content through Korean drama. The private sector serves as a producer of creative products for the entertainment industry in response to consumer demand; and 3) from 2009 to 2021, the Government of Thailand promoted the Thai entertainment industry through three phases of the film and video industry advocacy strategy.

References

กิตติ ประเสริฐสุข. (2561). Soft Power ของเกาหลีใต้: จุดแข็งและข้อจำกัด. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 22(1), 136.

จิตสุภัค ตันติเกษตรกิจ. (2559). บทบาทของภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงของประเทศไทยเพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมในตลาดโลก. วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤศจิกายน 2563. เข้าถึงได้จาก http://203.113.122.174/ULIB5//dublin.php?ID=650#.YjyLhedBy00

ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2563). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Sector Management). วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2), 462-464.

ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ และรานี อิฐรัตน์. (2563).เศรษฐกิจสร้างสรรค์: จากความคิดสร้างสรรค์สู่มูลค่าเศรษฐกิจ.วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤศจิกายน 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/ 649100

นันทิพา บุษปวรรธนะ และนาวิน วงศ์สมบุญ. (2563). ความสำเร็จในการเผยแพร่กระแสวัฒนธรรมเกาหลี(Korean Wave): บทบาทของรัฐบาลและอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง (The Success of Korean Wave Distribution: The Roles of Government and Entertainment Sectors). วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 9-10.

ศิริพร ดาบเพชร. (2565).KWave กับเศรษฐกิจเกาหลีใต้. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). การบริหารงานภาครัฐตามหลักทฤษฎีองค์การ: การบริหารงานภาครัฐ (PA) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) และการบริหารปกครองภาครัฐใหม่ (NPG). วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 4(1), 60-61.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2561). กรณีศึกษาโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในประเทศเกาหลี. วันที่ค้นข้อมูล 19 กรกฎาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://sme.go.th/upload/mod_download/download-20181005080650.pdf

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 25-26.

JerryHt. (2564). รวมมิตร “อาหารจานหนัง” ดูสนุก กินอร่อย ทะลุจอ!. วันที่ค้นข้อมูล 10 กันยายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=297CD6UH8Gs&list=WL&index=41&t=13s

Shifter. (2563). ขายวัฒนธรรมอย่างไรให้ได้เหมือนเกาหลี. วันที่ค้นข้อมูล 25 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/watch/?v=216750749481168

RYT9. (2561). ท่องเที่ยวเกาหลีบูม ดันกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี ดึงคนไทยเที่ยวคาดปีนี้ทะลุ 5.4 แสนคน.วันที่ค้นข้อมูล 16 พฤศจิกายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2898038

RYT9. (2542). เกาหลีใต้: เศรษฐกิจที่อาจพลิกผัน. วันที่ค้นข้อมูล 23 ตุลาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/ryt9/183849

WorkpointTODAY. (2562). “รัฐบาลประกาศหนุน คนทั้งประเทศก็ให้ความร่วมมือ” ถอดเกร็ดความสำเร็จ บันเทิงเกาหลี. วันที่ค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com/interview-cjm1/

Berg, S. H. (2015). Creative Cluster Evolution: The Case of the Film and TV Industries in Seoul, South Korea. European Planning Studies, 23(10), 1.

Beng, H. C., & Iwabuchi, K. (2008). Mapping Out the Cultural Politics of the ‘Korean Wave’ in Contemporary South Korea. Retrieved May 30, 2021, from https://omnilogos.com/mapping-out-cultural-politics-of-korean-wave-in-contemporary-south-korea/

Chuaynaket, P., Chindapol, W., & Chalermwat, P. (2020). Participation of Leaders, Community Leaders and People in Flood Management in Ranong Municipality, Ranong Province. International Journal of Law, Government and Communication, 5(21), 17.

Istad, F. (2016). A Strategic Approach to Public Diplomacy in South Korea. Retrieved September 6, 2021, from Research Gate Website: https://www.researchgate.net/publication/315738290 _A_Strategic_ Approach_to_Public_Diplomacy_in_South_Korea

Nye, S. J., Jr. (2004). Soft Power the Means to Success in World Politics. Retrieved November 16, 2020, from Academia.edu Website: https://www.academia.edu/28699788/Soft_Power_the _Means_to_Success_in_World_Politics_Joseph_S_Nye_Jr

Martin Roll. (2021). Korean Wave (Hallyu) – The Rise of Korea’s Cultural Economy & Pop Culture, June 16, 2021. Martin Roll. https://martinroll.com/resources/articles/asia/korean-wave-hallyu-the-rise-of-koreas-cultural-economy-pop-culture/

Otmazgin, N. (2011). A Tail that Wags the Dog? Cultural Industry and Cultural Policy in Japan and South Korea. Journal of Comparative Policy Analysis Research and Practice, 13(3), 316.

Petasen, P. & Janjula, J. (2020). Korean Wave 4.0. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, 12(2), 15-16.

Kwon, S. H. & Kim, J. (2014). The cultural industry policies of the Korean government and the Korean Wave. International Journal of Cultural Policy, 20(4), 1.

The Korea Times. (2020). South Korea’s export of cultural goods reach $10 billion. Retrieved June 20, 2021, from The Korea Times Website: https://www.koreatimes.co.kr/www/art/2020/ 07/688_292447.html

Downloads

Published

2023-01-19