การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐ: ศึกษากรณีการระบาดของไวรัสโควิด - 19 ในจังหวัดชลบุรี
Health Service System Development in Government Hospital: A Case Study in Outbreak of Virus COVID –19 in Chonburi Province
Keywords:
ระบบบริการสุขภาพ, โรงพยาบาลรัฐ, ไวรัสโควิด-19, Health Service System, Government Hospital, Virus COVID-19Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐที่ตอบสนองต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชนในสภาวะที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในด้านการส่งเสริมสุขภาพการควบคุมโรคและการป้องกันโรคเครื่องมือที่ใช้วิธีวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสภากาชาดไทย จำนวน 23 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมสุขภาพควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการและพัฒนาความรอบรู้ทางดิจิทัลสำหรับบุคลากรสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ด้านการควบคุมโรค ควรพัฒนาระบบการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการควบคุมโรคพัฒนาแนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างทีมควบคุมโรคกับผู้ประกอบการหรือภาคธุรกิจในพื้นที่พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังปฏิบัติงานควบคุมโรคพัฒนาโครงสร้างการปฏิบัติงานควบคุมโรคเชิงรุกสถานกักกันโรคแห่งรัฐ โรงพยาบาลสนามและพัฒนาแนวทางการประสานงานบังคับใช้กฎหมายป้องกันโรคติดต่อ 3) ด้านการป้องกันโรคควรพัฒนาการบริหารจัดการเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ The aim of this qualitative study was to propose development guidelines for health service system development in government hospital that respond to people’s health security in outbreak of the virus COVID-19 for health promotion, disease control and disease prevention. The research instruments were semi-structure interview. Informant comprised of 23 government agency executives under the Ministry of Interior and Ministry of Public Health with the Thai Red Cross Society. Data were collected using in-dept individual interview and content analysis based on research objectives. The results were as follows: Guidelines for the development of the health service system in government hospitals in Chonburi province are 1) Health Promotion: Establish a fund to support integrated operations and developing digital literacy for health personnel and village health volunteers. 2) Disease Control: Developing an integrated operational system for disease control, developing guidelines for cooperation between disease control teams with local entrepreneurs or businesses, developing guidelines for the workforce management of disease control, developing a structure for proactive disease control operations with state quarantine and field hospitals, and developing guidelines for coordination and law enforcement to prevent infectious diseases 3) Disease Prevention: Improve the management of medical equipment and supplies.References
กรมควบคุมโรค. (2563ก). สถานการณ์ทั่วโลก. วันที่ค้นข้อมูล 24 พฤษภาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://ddcportal.ddc.moph.go.th/ portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65
กรมควบคุมโรค. (2563ข). สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศ. วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560 Thai Health Profile 2016-2017. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.
คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกรอบการปฏิรูป. (2560). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560-2579). วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.plan.cmru.ac.th/documents/nation/ 01006.pdf
จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2554). การพยาบาลอนามัยชุมชน แนวคิด หลักการและการปฏิบัติการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะ. (2565). การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(2), 151-168.
ชาคริต ศึกษากิจ. (2559). การเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 58(2), 39-51.
ทีนุชา ทันวงศ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และพรทิพย์ กีระพงษ์ (2559) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายสุขภาพอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 26-36.
ธานี ขามชัย. (2560). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน: ศึกษากรณีเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์และความมั่นคง). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. (2561). การพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพตามพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ เขตสุขภาพที่ 6. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
นารีรัตน์ ผุดผ่อง และกานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์. (2559). การทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
พิบูล ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อมรการพิมพ์.
พิทักษ์พงศ์ พายุหะ. (2561). การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. การศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
เพชรสมร ไพรพะยอม, และประจักร บัวผัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(3), 11-22.
เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ และปนัดดา ปริยฑฤฆ. (2557). กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน: 14 กรณี ศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(1), 1-15.
พอพล อุยยานนท์. (2558). การให้บริการและความต้องการบริการสาธารณสุขในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง.วารสารสุทธิปริทัศน์, 29 (91), 315-330.
มณฑกา ธีรชัยสกุล. (2558). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานประเมินมาตรฐานและเทคโนโลยี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
รุสลี บาเหะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.
รัชดาพร นิตย์กระโทก.(2558). การพัฒนาระบบริการสุขภาพระดับอำเภอ ตามแนวคิดการจัดการระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. (งานนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมคิด บางโม. (2546). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: จูนพับลิชชิง.
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. (2561). แนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). การสาธารณสุขไทย 2554-2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี. (2563). รายงานสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดชลบุรี. วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ChonburiPr/
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร .(2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เอมิกา แช่มศรีรัตน์, พูลฉัตร วิชัยดิษฐ์ และสนชัย ใจเย็น. (2559). การพัฒนางานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 3 (2), 213-234.
โอภาส การย์กวินพงศ์. (2561). แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดตามกรอบกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ฤทัย วรรธนวินิจ. (2561). แนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
Chua, A. Q., Tan, M. M. J., Verma, M., Han, E. K. L., Hsu, L. Y., Cook, A. R., & Legido-Quigley, H. (2020). Health system resilience in managing the COVID-19 pandemic: lessons from Singapore. BMJ global health, 5(9), 1-17.
Jin, H., Lu, L., Liu, J., & Cui, M. (2021). COVID-19 emergencies around the globe: China’s experience in controlling COVID-19 and lessons learned. International Journal for Quality in Health Care, 33(1), 1-9.
Tessema, G. A., Kinfu, Y., Dachew, B. A., Tesema, A. G., Assefa, Y., Alene, K. A., & Tesfay, F. H. (2021). The COVID-19 pandemic and healthcare systems in Africa: a scoping review of preparedness, impact and response. BMJ global health, 6(12), e007179.