การศึกษาความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพของการประนอม ข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี

A Study of Public Opinion on Effectiveness of Mediation of the Chonburi Juvenile and Family Court

Authors

  • สรินยา นะวงค์
  • รัชนี แตงอ่อน

Keywords:

ความคิดเห็น, ประสิทธิภาพการประนอมข้อพิพาท, ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี, Opinions, Mediation efficiency, Chonburi Juvenile and Family Court

Abstract

งานนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี และ (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี สุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน กำหนดให้สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 181 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การหาค่า t–test และค่า One-way ANOVA ในการทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง มากกว่า 15,000-20,000 บาท และ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานะในคดีเป็นโจทก์/ผู้ร้อง 2. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีประสิทธิภาพการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี  พบว่าในภาพรวมมีประสิทธิภาพการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าประสิทธิภาพด้านการรักษาชื่อเสียงและความลับของคู่พิพาท มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการสร้างความพึงพอใจให้แก่คู่พิพาท ด้านลดปริมาณคดีของศาล ด้านการรักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท ด้านความรวดเร็ว และด้านความสะดวก ตามลำดับ เนื่องด้วยผู้มารับบริการการประนอมข้อพิพาทเห็นถึงข้อดี และประโยชน์ได้อย่างชัดเจน 3. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี พบว่าในส่วนปัจจัยส่วนบุคคลนั้น อายุที่แตกต่างกัน อาชีพที่แตกต่างกัน รายได้ที่แตกต่างกัน และสถานะในคดีที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ความคิดเห็นต่อปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี พบว่าจากการที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบแบบสอบถามนั้นสามารถแยกเป็นประเด็นต่างๆได้ดังต่อไปนี้ (1) ปัจจัยในด้านกฎหมาย หรือข้อบังคับที่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยในขั้นตอนของการปฏิบัติงาน (2) ปัจจัยในด้านฝ่ายตัวความ ปัจจัยเกี่ยวกับโจทก์/จำเลย ที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อตกลงในการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท (3) ปัจจัยในด้านกระบวนการไกล่เกลี่ย การติดต่อสื่อสารรวมถึงการนัดหมายและการประสานงานต่างๆ และ (4) ปัจจัยในด้านสถานที่ สิ่งแวดล้อมในการไกล่เกลี่ย 5. แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี เรื่องกฎหมายควรแก้ไขให้มีความชัดเจนมากกว่านี้ เพราะถ้ากฎหมายชัดเจนจะทำให้คู่ความกล้าที่จะเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ด้านตัวคู่ความ ต้องมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้คู่ความที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและรู้ถึงขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทอย่างแท้จริง ด้านการนัดหมายอาจมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และด้านสถานที่เห็นควรเพิ่มเก้าอี้ หรือพื้นที่ในการนั่งรอให้มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการสถานที่  This independent study was (1) to study the opinions of citizens toward the mediation efficiency of Chonburi Juvenile and Family Court, (2) to compare the opinions of citizens toward the mediation efficiency of Chonburi Juvenile and Family Court, and (3) to study problems, obstacles, and solutions to the mediation and conciliation of Chonburi Juvenile and Family Court. The sampling size was determined by using Krejcie and Morgan's table for the proportion of the population assumed to be 0.5 with a tolerance level of 5 % and a reliability value of 95%. The samples were 181 people, and the research instrument was a questionnaire. The statistic used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t-test, and One-Way ANOVA. The results of the research showed as follows. 1. The research found that most of the respondents were female. Most of them were between 31-40 years of age, owned a business, and earned more than 15,000-20,000 baht of monthly income. Moreover, most of the respondents had the status of the case as a plaintiff or a petitioner. 2. According to the opinions of citizens toward the mediation efficiency of Chonburi Juvenile and Family Court, it was found that the overall mediation efficiency of Chonburi Juvenile and Family Court was at a very good level. When considering the income aspect, it was found that the efficiency in maintaining the reputation and confidentiality of the litigants held the highest average score. The other following aspects were the litigants’ satisfaction aspect, promptness aspect, and convenience aspect, respectively, as the service recipients of mediation clearly perceived the advantages and benefits. 3. When comparing the opinions of citizens toward the mediation efficiency of Chonburi Juvenile and Family Court, it was found that in personal factors, different ages, occupations, incomes, and status of the cases received a significantly different level of opinions toward the mediation efficiency of Chonburi Juvenile and Family Court with the statistical level of 0.05. 4. According to the opinions toward problems, obstacles, and solutions to the mediation and conciliation of Chonburi Juvenile and Family Court, the respondents’ responses could be divided into issues as follows. (1) The legal or regulation factor causing problems and obstacles to the mediation procedure in the operating process, (2) the litigant factor and the plaintiff/defendant factor causing obstacles against reaching an agreement on conciliation negotiations, (3) the mediation procedure, communication including appointments, and coordination factor and (4) location and environment in mediation factor. 5. Based on guidelines of solutions to problems and obstacles related to the mediation and conciliation efficiency of Chonburi Juvenile and Family Court, the law should be revised to be clearer because if the law is clear, it will give the litigants the courage to attend the mediation and conciliation. In the aspect of the litigant, the related knowledge should be disseminated to litigants for them to be aware and understand the true mediation and conciliation procedure. In the aspect of appointments, the role of technology should be increased. Lastly, in the aspect of the location, more chairs should be added and waiting space should be wider to solve the location management problems.

References

เกษม คมสัตย์ธรรม. (2552). กฎหมายเกี่ยวกับการประนอมข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

โชติช่วง ทัพวงศ์. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ดวงเพ็ญ ทุคหิต. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการตามความ คิดเห็นของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เนติภูมิ มายสกุล. (2560). เทคนิคการไกล่เกลี่ยสำหรับผู้ประนีประนอม:ในเทคนิคจิตวิทยาสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระอดิศักดิ์ วชิรปฺโญ และอดุลย์ ขันทอง. (2558). คุณลักษณะของผู้ประนีประนอมเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(1).

ลาวัลย์ นาคดิลก และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). แนวคิดการไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพิจารณาคดีของศาล. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2).

ภัทรพร สันตธาดาพร และประณต นันทิยะกุล. (2559). การบริหารจัดการการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของสำนักงานเยาวชนและครอบครัว ภาค 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 3, 323-332.

ศรีอัมพร ปานพรหม. (2551). การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนกวดวิชาโรงเรียนโฟกัส เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริชัย กุมารจันทร์, เอกราช สุวรรณรัตน์ และ กรกฎ ทองขะโชค. (2561). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยและคุ้มครองสิทธิในศาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(1), 317-328.

ศิริเพ็ญ จันทร์นิยม. (2562). แนวทางใหม่ของการจัดการความขัดแย้งในการระงับข้อพิพาทสัญญาทางปกครอง ศึกษาเฉพาะกรณี : การกำหนดให้นำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยคนกลางไกล่เกลี่ยมาใช้ในสัญญาทางปกครอง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 289-311.

สรวิศ ลิมปรังษี. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท: ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ. (2560). คู่มือการระงับข้อพิพาททางเลือกสำหรับประชาชน. วันที่ค้นข้อมูล 24 มีนาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/201809250b5239fc1b92834ee52f73355f00e533202655.pdf

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),607-610.

Millet, J. D. (1954). Management in Public Science. New York: McGraw - Hill.

Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior, A Study of Decision-Making Processes in Administrative Organization. New York: The Macmillan Co.

Downloads

Published

2024-01-03