การพัฒนาตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย

The Development of Indicators for Tracking the Progress of Implementing Good Governance Principles in Thai Government Organizations Receiving Good Governance Awards in Thailand

Authors

  • ปิยากร หวังมหาพร

Keywords:

ตัวชี้วัด, การติดตามความก้าวหน้า, รางวัลธรรมาภิบาล, องค์กรภาครัฐ, Indicator, Progress Tracking, Good Governance Award, Government Organization

Abstract

หลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการสากลและเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ การให้รางวัลธรรมาภิบาลจึงเป็นวิธีการที่กระตุ้นให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรที่ให้รางวัลต่างมีตัวชี้วัดของตนเองเพื่อประเมินและให้รางวัลแต่ยังขาดตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานร่วมกันในการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวชี้วัด2) พัฒนาตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีมีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพตัวชี้วัดและแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารองค์กรที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาล จำนวน 10 ราย หัวหน้า/รองหัวหน้าหรือเทียบเท่าขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลในการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล ประจำปี  2560 จำนวน 40 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลโดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รัฐ รางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทยควรประกอบด้วย 6 หลักได้แก่นิติธรรม 7 ตัวชี้วัด คุณธรรม 11 ตัวชี้วัดความโปร่งใส 4 ตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม4 ตัวชี้วัดสำนึกรับผิดชอบ 16 ตัวชี้วัดและความคุ้มค่า 15 ตัวชี้วัด  The principle of good governance is an international principle and a crucial practice that  leads to organizational success. Providing rewards for good governance is a method that  stimulates continuous adherence to the principles of good governance. Organizations that offer  rewards usually have their own set of indicators to assess and reward performance, but there is  still a lack of common standards for tracking progress in practicing good governance. The  purpose of this research is to: 1) study the appropriateness of indicators, and 2) develop  indicators to track the progress of implementing good governance principles in Thai government organizations that have received good governance awards. This research is a mixed-method  study, utilizing research tools such as quality assessment questionnaires and surveys. The sample group consists of 10 persons from government organizations that have received good governance awards. Heads/Deputy Heads or equivalent positions of government organizations that have received awards for practicing good governance in the year 2560, totaling 40 persons.  The statistical methods used for data analysis include means, standard deviations, and Pearson correlation coefficients. The study results reveal that the overall appropriateness level of indicators for tracking the progress of implementing good governance principles in Thai government organizations that have received good governance awards is at a high level. The indicators for tracking progress in implementing good governance principles in these organizations should include 6 main categories: legal ethics with 7 indicators, moral ethics with 11 indicators, transparency with 4 indicators, participation with 4 indicators, accountability with 16 indicators, and worthiness with 15 indicators.

References

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2552). ทศธรรม ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพรส.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปิยากร หวังมหาพร. (2562). การสำรวจข้อมูลธรรมาภิบาลในประเทศไทย : Good Governance Mapping (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2561). การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรง. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7 (2), 20-37.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอน 100 ก วันที่ 4 ตุลาคม 2546 หน้า 1-16.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542). ใน ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. วันที่ 10 สิงหาคม 2542 หน้า 24-31.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546) . องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563 จาก http://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=3&content_id=2225

สุดจิต นิมิตกุล. (2543). ธรรมาภิบาลกับการบริหาร. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.

ADB. (1999). Governance in Thailand: Challenge, Issues and Prospects. Manila: ADB Annual Report.

IMF. (1997). Good Governance: The IMF’s Role. Washington, DC.: IMF.

Lawshe. C.H. (1975). A Quantitative Approach to Content Validity. Personnel Psychology, 28(2), 563-575.

OECD. (1996). Politic and the Reform of Government Minster look at the Future of Public Service. New York: Oxford University Press.

UNDP. (1997). Governance for Sustainable Human Development. Philippines: United Nations Development Programme.

UNESCAP. (2005). Policies and Good Practices in Investment Promotion and Facilitation in LDC: Bhutan

Lao. PDR and Timor-Leste. New York: Economic and Social Commission for Asia and the Pacific.

World Bank. (1992). Governance and Development. Washington, DC.: The World Bank.

World Bank. (1989). Sub-Sahara Africa: From Crisis to Sustainable Growth. Washington DC.: World Bank.

Walter, D. (1971). Scientific Sociology: Theory and Method (3rd ed). New York: Prentice-Hall.

Downloads

Published

2024-01-03