การบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)

The Management of the Thai Maritime Enforcement Command Center (Thai-MECC)

Authors

  • สาโรจน์ เกลี้ยงสง
  • เอกวิทย์ มณีธร

Keywords:

การบริหารจัดการ, การบริหารจัดการแบบประสานความร่วมมือ, การบริหารจัดการแบบเครือข่าย, การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล, Management, Collaborative Governance, Network Governance, Marine Resource Conservation, Thai Maritime Enforcement Command Center

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในปัจจุบัน และ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) การศึกษาในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้การเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มบุคลากรของ ศรชล. และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 21 ท่าน 2) การสำรวจจากบุคลากรของศรชล. จำนวน 280 คน และ 3) การศึกษาข้อมูลเอกสาร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้างที่ได้มีผ่านการทดสอบคุณภาพ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way  Analysis of Variance) และพรรณนาข้อมูลในปรากฏการณ์ และวิเคราะห์ตีความข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์แบบสามเส้าระเบียบวิธีวิทยา ผลการวิจัยพบว่า 1. โครงสร้างของการจัดการของการบริหารจัดการของ ศรชล.นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักได้แก่ 1) ส่วนบริหารและนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและ 2) ส่วนอำนวยการและหน่วยปฏิบัติการในระดับพื้นที่จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากรพบว่าส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและ 2. ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการพบว่า 1) ด้านโครงสร้างและนโยบายขององค์กรมีปัญหาทางด้านการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่ไม่เพียงพอไม่เหมาะสมและการจัดโครงสร้างที่ยังคงเป็นแบบราชการไม่ได้รวดเร็วและคล่องตัวขึ้น 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีปัญหาได้แก่การครอบงำทางวัฒนธรรมองค์กรเอกภาพในการสั่งการและการประสานงาน ความหลากหลายและความซ้ำซ้อนของภารกิจแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมใน ศรชล. ตามกฎหมาย และการขาดความรู้ความเข้าใจในองค์กรและบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังขาดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาแก่ชุมชนในพื้นที่การสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติงานและชุมชนและปัญหาการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและ 4) ด้านการจัดการเครือข่ายบุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในภารกิจที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่ายประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรของผู้บริหาร ขาดการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีแก่เครือข่ายและขาดแผนงานในการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติการ  The aim for this research were:1) To analyze management practices and 2) To investigate the problems and obstacles in the management of the Thai Maritime Enforcement Command Center. This study was a mixed-methods research approach, combining both quantitative and qualitative methods. Data collection is divided into three parts 1) Surveys conducted among 280 Thai-MECC Staff 2) In-depth interviews with Thai-MECC Staff and a group of stakeholders comprising 21 persons. And 3) Document analysis. Research tools used in this study include structured questionnaires and semi-structured interview guides. Statistical analyses encompass frequency distributions, percentages, means, standard deviations, t-test, One Way Analysis of Variance, and data analysis composed of describing the data in phenomena or concrete and analyzing the data in a methodological triangle. The results of study showed that: 1. The management structure of the Thai-MECC is primarily divided into two main components 1) The  management and policy segment. 2) The administrative and operational units at the local level. the analysis of Thai-MECC Staff opinions, it was found that the majority hold a positive view of management practices, and overall, the average rating is at a high level. 2. The problems and obstacles in management are as follows: 1) Structure and Organization Policy: There are issues related to the allocation and suitability of various resources, which are insufficient and not well- suited. The bureaucratic structure is slow to adapt and lacks flexibility. 2) Stakeholders: There are problems such as cultural dominance within the organization, hierarchy in command and coordination, diversity and redundancy of missions among participating units within the CCRMC according to the law, and a lack of knowledge and understanding of the organization and roles of the management. 3) Relationships Among Stakeholders: There is a lack of good relationships and understanding in addressing community issues in the area, building relationships with participating organizations and communities, and issues related to collaborative work among organizations.  And 4) Network Management: Personnel lack of knowledge and understanding of the tasks that need to be jointly performed within the network, efficiency in managing the organization by the management, communication to foster a good understanding within the network, and plans for collaborative work among participating organizations.

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). องค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ. วันที่ค้นข้อมูล 11 มิถุนายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://po.opdc.go.th/content/MTY

ศูนย์อำนวยการการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (2562). พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562. วันที่ค้นข้อมูล 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.dmcr.go.th/detailLib/6253

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (2563). แผนยุทธศาสตร์ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. กรุงเทพฯ: ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล.

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี งป. 65 และผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2563 - 2565). กรุงเทพฯ: ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2559). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กับการดำเนินงานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อิทธิชัย สีดำ. (2563). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่ายกับการนำมาใช้ในประเทศไทย. วารสาร นวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 9(3), 1–20.

อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Agranoff, R., & McGuire, M. (2003). Collaborative Public Management: New Strategies for Local Governments. Washington, DC: Georgetown University Press.

Ansell, C., & Gash, A. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543-571.

Bevir, M. (2010). Democratic governance. Princeton Newjersey: Princeton University Press.

Booher, D. E. (2004). Collaborative Governance Practices and Democracy. National Civic Review, 93(4), 32–46.

Emerson, K., Nabatchi, T., & Balogh, S. (2012). An Integrative Framework for Collaborative Governance. Journal of Public Administration Research and Theory, 22(1), 1-29.

Emerson, K., & Nabatchi, T. (2015). Collaborative governance regimes: Georgetown University Press.

Goldsmith, S., & William D. E. (2004). Governing by Network. D.C.: Brookings Institution Press.

Huxham, C. (2000). The Challenge of Collaborative Governance. Public Management, 2(3), 337-357.

Newbold, M.G. (2014). Strategic Network Structures’ Influence on Canadian Search and Rescue Management. Capella University. Ann Arbor MI: ProQuest LLC.

O’Leary, R., & Gerard, C. (2012). Collaboration across boundaries: insight and tips from federal senior execituive. Washington, DC: The Maxwell School of Syracuse University.

Shiflett-Picardi, D. (2018). Inter-agency Collaborative Governance in Emergency Management: A Qualitative Case Study. Northcentral University. Prescott Valley, AZ. Ann Arbor, MI: ProQuest LLC

Wright, D. S. (1981). Understanding Intergovernmental Relations. New York: Harcurt Brace Jovanavich.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

Published

2024-01-03