การจ้างงานและคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
การจ้างงานและคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Keywords:
สภาพการจ้างงาน, คุณภาพชีวิต, แรงงานต่างด้าว, เทศบาลเมืองแสนสุข, Employment Conditions, Quality of Life, Foreign Workers, Saen Suk MunicipalityAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจ้างงานแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 2. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวมานุษยวิทยา โดยอาศัยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การศึกษาพบว่า 1. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับจ้างทำงานในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุขมีหลากสาขาอาชีพซึ่งเป็นงานที่คนในพื้นที่ไม่นิยมทำกัน กลุ่มแรงงานทักษะต่ำส่วนใหญ่ทำงานประเภท 3D (difficult, dirty and dangerous) แต่มีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตไปในหลายกิจกรรมมากขึ้นนอกเหนือจากกลุ่ม 3D แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานมีทั้งที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเข้ามาแบบผิดกฎหมาย มีรายได้ตั้งแต่ 300 – 500 บาท ระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยวันละ 8 - 10 ชม. ในส่วนของพักที่แรงงานต่างด้าวพบว่ามี 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. อยู่อาศัยร่วมกับนายจ้าง 2. นายจ้างจัดที่พักอาศัยให้เฉพาะ 3. นายจ้างจัดเป็นแคมป์คนงานขนาดใหญ่แบบถาวรให้ ในด้านสวัสดิการพบว่าโดยรวมแรงงานต่างด้าวมีสวัสดิการด้านสุขภาพและความปลอดภัยทางสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยภาพรวมพบว่าคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุขอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการพิจารณาคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวตามหลักวิชาการครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้ ความมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านสุขภาพและความปลอดภัยทางสุขภาพด้านสัมพันธภาพทางสังคม ความอบอุ่นและความมั่นคงของครอบครัวและความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคล Objectives of this research were 1) to study the employment conditions of migrant workers in Saen Suk Municipality, Mueang District, Chonburi Province; and 2) to study the quality of life of migrant workers in Saen Suk Municipality, Mueang District, Chonburi Province. Qualitative anthropological research method was used as research methodology, relying on collecting information from documents, in-depth interviews and non-participant observation. The study found that migrant workers who came to work in the Saen Suk Municipality area worked in many career fields, especially works that people in the area did not do. The majority of low-skilled workers worked in the 3D category (difficult, dirty and dangerous), but there was a tendency to expand their scope into other jobs besides the 3D groups. Migrant workers came to work both legally and illegally and their income ranges were about 300 - 500 baht. Their average working time was 8 -10 hours per day. For accommodations, there were 3 types as follows: 1) They lived together with the employer; 2) employers provided accommodation and 3) employer organized a large permanent worker camp. In terms of welfare, migrant workers' health welfare and overall health safety were at a good level. Overall, it was found that the quality of life of migrant workers in the Saen Suk Municipality area was within the quality standards by considering the quality of life of migrant workers according to academic principles covering all dimensions as follows: dignity and quality of working life, health and health safety, social relations, family warmth and security and personal safety and security.References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2556 (ภาคตะวันออก). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2556 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). วันที่ค้นข้อมูล 13 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/news/category/487
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม ถึงเดือนสิงหาคม). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. วันที่ค้นข้อมูล 13 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/news/category/705
กลุ่มผู้ประกอบการในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข. (2565, 9 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
กลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ลาว และ เมียนมา.(2565, 14 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
กลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวลาว เมียนมา และกัมพูชา. (2565, 9 ธันวาคม) สัมภาษณ์.
กลุ่มแรงงานต่างด้าวเมียนมา ลาว กัมพูชา. (2563, 20 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
เทศบาลเมืองแสนสุข. (2562). สถิติการท่องเที่ยวบางแสน ปี 2562. สถิติการท่องเที่ยวบางแสน. วันที่ค้นข้อมูล 13 มีนาคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.saensukcity.go.th/images/doc/stat-tourism-2562.pdf
เทศบาลเมืองแสนสุข. (2565). เทศบาลเมืองแสนสุข. วันที่ค้นข้อมูล 13 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://saensukcity.go.th/demo/about.html
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2560). การเข้าเรียนของเด็กต่างด้าวในสถานศึกษาในจังหวัดชลบุรี. เอเชียปริทัศน์. 38(1), 105-136.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2565, 16 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา. (2565, 25 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา. (2565, 30 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2565, 2 พฤศจิกายน).สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา. (2565, 8 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา. (2565, 12 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2565, 13 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา. (2565, 5 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2565, 9 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา. (2565, 12 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2565, 15 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2565, 19 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2565, 25 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา.(2566, 12 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา. (2566, 16 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2566, 18 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา. (2566, 19 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา. (2566, 5 มีนาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวลาว. (2566, 16 มีนาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา. (2566, 18 มีนาคม). สัมภาษณ์.
แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา. (2566, 25 มีนาคม). สัมภาษณ์.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). สุขภาพคนไทย 2556: ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปโครงสร้างอานาจเพิ่มพลังพลเมือง. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล : นครปฐม.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2556). ตารางที่ 1 จำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. วันที่ค้นข้อมูล 13 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/c5c50d095fe77da6e69d882435c768b7.pdf
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2563). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือน ธันวาคม 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2565). สถิติจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือน 2565. วันที่ค้นข้อมูล 13 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/88073cad88967313a04a0d77398a3a99.pdf
Anjara, S. G., Nellums, L. B., Bonetto, C., & Van Bortel, T. (2017). Stress, health and quality of life of female migrant domestic workers in Singapore: A cross-sectional study. BMC Women’s Health, 17, 1-13.
Chalamwong, Y., & Prugsamatz, R. (2009). The economic role of migration labour migration in Thailand: Recenttrends And implications for development. TDRI Quarterly review, 24(3), September.
Huguet, J. W. (Ed.). (2014). Thailand Migration Report 2014. United Nations Thematic Working Group on Migration in Thailand. Bangkok: Thammada Press.
Human Rights Watch. (2010). From the tiger to the crocodile: Abuse of migrant workers in Thailand. Retrieved 14 March, 2023, from https://www.hrw.org/sites/default/files/reports/thailand0210_insert_low.pdf
Kaur, A. (2010). Labour migration in Southeast Asia: Migration policies, labour exploitation and regulation. Journal of the Asia Pacific Economy, 15(1), 6-19.
Nielsen, I., & Sendjaya, S. (2014). Wellbeing among Indonesian labour migrants to Malaysia: Implications of the 2011 Memorandum of Understanding. Social Indicators Research, 117, 919–938.
Panam, A., Kyaw Zaw, K. M., Caouette, T., & Punpuing, S. (2004). Migrant domestic workers: From Burma to Thailand. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.