ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ

Sports Tourism Strategic of Sisaket Province

Authors

  • จรัสพล ชนะสิทธิ์
  • อนุจิตร ชิณสาร

Keywords:

ยุทธศาสตร์, การท่องเที่ยวเชิงกีฬา, จังหวัดศรีสะเกษ, Strategic, Sports Tourism, Sisaket Province

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ (2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ และ (3) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัย คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษประกอบด้วย (1) ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 คน (2) ตัวแทนหน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 5 คน และ (3) ตัวแทนหน่วยงานภาคประชาสังคม จำนวน 5 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือแนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ ด้านจุดแข็งมีทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา ด้านจุดอ่อน ไม่มีสนามบิน ที่พักมีจำกัด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันของนักท่องเที่ยวค่อนข้างต่ำ ด้านโอกาส ภาพรวมแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ มีแนวทางพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการการท่องเที่ยววิถีใหม่ ส่งเสริมให้ชุมชนสร้างสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ และระบบขนส่งสาธารณะ และมีการประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุก ด้านอุปสรรค มีจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนผลการศึกษาแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ ยุทธศาสตร์ที่ 1: กลยุทธ์การสร้างและตอกย้ำอัตลักษณ์ (Branding strategy) ที่ชัดเจนของศรีสะเกษเมืองท่องเที่ยวและกีฬาระดับสากล, ยุทธศาสตร์ที่ 2: กลยุทธ์การสร้างโอกาสและจูงใจ (Investment opportunity strategy) การเข้ามาลงทุนพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ, ยุทธศาสตร์ที่ 3: กกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive public relations strategy) และการจัดทำข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและปฏิทินกีฬาที่ทันสมัยและครอบคลุมตลอดปี และยุทธศาสตร์ที่ 4: กลยุทธ์การสร้างบุคลากรทางการกีฬาระดับชาติ (Sports personal development strategy) แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย แนวทางด้านความสามารถในการเข้าถึงด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก The purpose of this research is to analyze the sports tourism environment of Sisaket Province. To prepare a strategic plan for sports tourism in Sisaket Province and to study the guidelines for driving the sports tourism strategy of Sisaket Province. Using a mixed research method both qualitative research and quantitative research the population in the study is tourists and stakeholders. The sample group will be 400 tourists and stakeholders in sports tourism in Sisaket Province and in-depth interviews will be conducted. Key informants from 3 groups as follows: Government agencies Private sector agencies and public sector agencies Qualitative data collection Use the in-depth interview question tool. For collecting quantitative data, questionnaires were used. Qualitative data analysis used data analysis methods using data classification methods. and data comparison Quantitative data analysis section Descriptive statistics were used, including frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. in data analysis. The results of the study found that the Sports tourism environment of Sisaket Province Strengths includes tourism resources and attractions in sports tourism destinations. Weaknesses: No airport, limited accommodations. The average daily cost is quite low. Opportunity for an overview of development plans at various levels There are guidelines for developing personnel and tourism operators in a new way. Encourage communities to create tourism activities Develop logistics infrastructure and public transport Public relations and aggressive marketing. Obstacles: Buriram Province is a nearby competitor. Strategic plan to drive the sports tourism strategy of Sisaket Province Strategy 1: Create a leadership identity for sports tourism cities. Strategy 2: Develop logistics systems. Infrastructure Strategy 3: Public relations to create awareness and stimulate marketing at Both regional levels in the country and international level Strategy 4: Develop personnel in both tourism and sports and expand the integrated sports tourism working network in all sectors. Guidelines for driving the sports tourism strategy of Sisaket Province include (1) guidelines for accessibility. Tourism activities and facilities

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2560 - 2564. วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/news/category/66

กาจบัณฑิต เอี้ยวถาวร. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ของจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 203-204.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2566-2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ศรีษะเกษ: สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ.

คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2566-2570. อุบลราชธานี: กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2.

เจีย เฉิน ยู และสยามล วิทยาธนรัตนา. (2553). ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความตั้งใจของแฟนกีฬาต่างชาติที่จะเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงกีฬา. วันที่ค้นข้อมูล 10 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://www/etatjournal.com/upload/363/08_Sport _Tourism_USA.pdf

นลินทิพย์ พิมพ์กลัด และภรณี หลาวทอง. (2561). ศักยภาพสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกีฬาและนันทนาการ ที่สามารถดึงดูดและเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวได้ ของจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ Veridian E- Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 505-522.

ณัฐวุฒิ เหมาะประมาณ และ สุวารี นามวงศ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันรถยนต์: ในรายการการแข่งขันบางแสน ไทยแลนด์ สปีด เฟสติวัล จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 186-201.

ร็อบบินส์, สตีเฟ็นส์ พี. (2008). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ [แปลจากเรื่อง Management] (วิรัช สงวนวงศ์วาน, แปล). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

รัชพงษ์ เขียวพันธุ์ และเสรี วงษ์มณฑา. (2561). องค์ประกอบการจัดการมหกรรมกีฬาของสโมสรฟุตบอลไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา ในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 88-102.

รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. (2563). วันที่ค้นข้อมูล 5 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=581

วรวินทุ์ สุวัณ ณ เขมรัฐ (2550). การจัดและบริหารเชิงบูรณาการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวกึ่งอนุรักษ์ในพื้นที่สามเหลี่ยมอันดามันอย่างยั่งยืน ภูเก็ต พังงา และกระบี่. รายงานฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

Anna, M. P. (2017). Sports and tourism for sustainable tourism and rural development. n.p.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management, 21(1), 97-116.

Weihrich, H., & Koontz, H. (1993). Management: Global Perspective (10th ed.). New York: Mc Graw – Hill.

Downloads

Published

2024-07-10