การประเมินผลการบริการของศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท
Evaluation of Services of Chainat Rest Area, Manorom, Chainat
Keywords:
การประเมินผลการบริการ, ศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท, การประเมินผลแบบจำลองซิป, หุ้นส่วนความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน, Evaluation of Services, Chainat Rest Area, CIPP Model, Public-Private PartnershipAbstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินผลสำเร็จการบริการของศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระดับความสำเร็จของบริการของศูนย์ฯ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริการของศูนย์ฯ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน/ ผู้มาใช้บริการศูนย์บริการทางหลวงชัยนาท จำนวน 400 คนเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลสำเร็จการบริการของศูนย์บริการทางหลวงชัยนาทอยู่ในระดับมาก โดยผลกระทบของโครงการมีระดับความสำเร็จมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การบริการของศูนย์ฯ และระดับความสำเร็จด้านบริบท 2) ประชาชนที่มีสถานภาพ และอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับความสำเร็จของศูนย์ฯ แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริการของศูนย์ฯ คือ 1) พัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยนำงบประมาณมาใช้จัดกิจกรรม เตรียมความพร้อม/สิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการ ปรับปรุงอาคารและภูมิทัศน์ เตรียมความพร้อมด้านสถานที่อำนวยความสะดวก และระบบการบริหารจัดการการปฏิบัติงาน 2) จัดให้มีกระบวนการสำรวจ นิเทศ ติดตาม กำกับการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง 3) ส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น โดยการสร้างสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อเกิดความพึงพอใจและยอมรับในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ มากขึ้น และ 4) สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ และสนับสนุนให้ศูนย์เป็นที่แวะพัก และท่องเที่ยว This research aims to assess the service performance of Chainat Rest Area, compare perceptions of service success levels based on individual factors, and formulate guidelines for service development. This mixed-method study involved three sample groups: the general public/service users (400 people), representatives from government agencies, and representatives from private sector organizations (30 purposive samples), using questionnaires and in-depth interviews. Findings suggest that the service performance of the Chainat Rest Area is generally high, with project impact receiving the highest success level, followed by service delivery and the contextual level. It was found that perceptions of service success levels significantly differed based on socioeconomic status and age, but not on gender or frequency of service usage. The proposed guidelines for development emphasize the need for enhanced cooperation between public and private sectors. This includes allocating funds for improvements, conducting surveys, consultations, and monitoring to ensure proper project implementation, and promoting the development of entrepreneurs. The service center should also be developed as a significant local tourism hub to contribute to economic and tourism growth, ensuring community satisfaction and acceptance.References
กรมทางหลวง. (2564). ศูนย์บริการทางหลวง. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.doh.go.th/content/ page/page/8074
เทียนฉาย กีระนันท์. (2537). แผนโครงการและงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2529). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2552). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี. (2564). ผลกระทบโควิดระลอกใหม่ SMEs ควรรับมืออย่างไร. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/finance/news-606364
สมประวิณ มันประเสริฐ. (2564). ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/economic-covid-impact
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2564). เอกสารประกอบการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.ppp .sepo.go.th/assets/document/file/slide%202560--Jan2018.pdf
สำนักงานสถิติจังหวัดชัยนาท. (2564). รายงานผลการสำรวจ 2563. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก http://chainat.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=496: 2563013111&catid=104&Itemid=509
ศักดิ์สุดา จิระศุภโชค. (2560). การประเมินผลนโยบายภาครัฐด้านทรัพยากรป่าชายเลน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 9(2), 301-329.
อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2560). การประเมินผลการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 24(2) , 175-190.
Stufflebeam, D. L. (2015). For applying CIPP evaluation model checklist: A tool the CIPP model to assess projects and programs. Michigan: Western Michigan University.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harpey and Row Publication.