ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้ากลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง

Factors to Affected Product Consumer Behavior Electrical Lighting Equipment Group

Authors

  • ณญาดา ทวิสุวรรณ

Keywords:

ปัจจัย, พฤติกรรมผู้บริโภค, กลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง, Factors, Consumer Behavior, Electrical Lighting Equipment Group

Abstract

สถานการณ์ตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างประเทศไทย มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แสงสว่างที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออวัยวะการมองเห็น และการทำงานในมนุษย์ ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการมองเห็น จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดผลเสียต่อสายตาที่อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้า การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคม ลักษณะบุคคล จิตวิทยา และพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะ และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test, ANOVA และ Multiple regressionผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ เพศหญิง ร้อยละ 51.25 อายุ 51 - 60 ปี ร้อยละ 53.5 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 88.50 ประกอบอาชีพบริษัท/สถานประกอบการ ร้อยละ 53.25 ความถี่ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง 1-2 ครั้ง/ เดือน ร้อยละ 41.50 ภาพรวมของปัจจัยด้านสังคม ส่วนบุคคล ด้านวัฒนธรรม ระดับมาก  = 4.31, 4.14, 3.68 และ 3.68 ตามลำดับ 1) รายได้มีผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งยอมรับสมมุติฐาน 2) อาชีพมีผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน 3) การพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้ากลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม ตามลำดับ  The situation of the lighting equipment market in Thailand shows continuous growth. Light generated from electrical devices is crucial for visual organs and human work. Therefore, creating an environment that enhances visual efficiency and reduces eye strain caused by lighting is essential. This research aims to study cultural, social, personal, psychological, and consumer behavior factors related to lighting equipment. Data was collected through questionnaires from a sample group of 400 residents in Bangkok. Statistical analyses included t-tests, ANOVA, and multiple regression. The study found that the majority of the sample group were females (51.25%) aged 51-60 years (53.5%). Most had education levels below a bachelor’s degree (88.50%) and worked in companies or businesses (53.25%). The frequency of purchasing lighting equipment was 1-2 times per month (41.50%). Overall, social, personal, and cultural factors were rated highly (4.31, 4.14, 3.68, and 3.68, respectively). 1) Income significantly influenced consumer behavior related to lighting equipment, with statistical significance at the 0.05 level, accepting the hypothesis. 2) Occupation did not significantly affect consumer behavior, rejecting the hypothesis. 3) Predictors related to psychology, social aspects, and culture influenced consumer behavior regarding lighting equipment, with decreasing importance. 

References

กนิษฐา กาญจนโกศล และวิญญู ปรอยกระโทก. (2565) ทำการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถส่งสินค้ากระบะตู้ทึบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(2), 125-139.

กัลยาณมิตรเพื่อนแท้สำหรับคุณ. (2023). วัฒนธรรมชาวพุทธการใช้ไฟฟ้า. 25 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.kalyanamitra.org/th/Buddhist_culture_detail.php?page=58

กัลยกร วรกุลลฎัฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2551). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

การไฟฟ้านครหลวง. (2566). สถิติจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าแยกตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า. 5 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/dataset/mea-customer. Microsoft Excell

คณิศร เรียงผา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนฟู้ดของผู้บริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุฑารัตน์ บุญกลำ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตผ่านช่องทางออนไลน์. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤตกิรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดลเศรษฐ์ อรัญมาตย์ธีทัต. (2563). เรื่อง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาการบัญชี, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). PEA ก้าวสู่ปีที่ 60 ร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1869583

ธนาคารกรุงเทพ. (2563). ทฤษฎี 6W1H ตัวช่วยค้นหาลูกค้าของธุรกิจออนไลน์. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/know-theory-6w1h-help-find-customers-online-businesses

ธนกฤต วันต๊ะเมล์. (2554). การพัฒนาโมเดลสมการเชิงโครงสร้างการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมเพื่อลดพฤตกิรรมเสี่ยงทางสุขภาพของเยาวชนไทย. วิจัยจากงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2554, 17(3).

ทวีวัฒน์ แก้วเล็ก. (2563). ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซีเอชเรดิเอเตอร์ จากัด ในสถานการณ์โควิด-19.

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, คณะบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บริษัท ธีระมงคลอุตสาหกรรมจำกัด (มหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2560. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก http://www.thaiballast.com/. pdf

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ปรัศนีย์ ไชยชนะ. (2565). ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าและอิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์แบรนด์ยูเซอรินของผู้บริโภค. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประจักษ์ วงษ์ศักดา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประชากรวัย ทำงานในกรุงเทพมหานคร. สาขาการเงินการธนาคาร, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทรา นิคมานนท์. (2540). การประเมินผลการเรียน. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์จำกัด.

รมย์ธีรา จิราวิภูเศรษฐ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(2), 102-114.

รุ่งนภา อริยะพลปัญญา, ประภาศรี อึ่งกุล และนายโชติภณ วังศานุตร. (2563). การพัฒนาการตลาดที่มีผลต่อทัศนคติผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 13 ประจำปีการศึกษา 2563. 12 หน้า.

วิมล ปั้นคง. (2558). เกาะติดสถานการณ์อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยในตลาดโลก. กรุงเทพฯ:สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).

ศรุดา จิรัฐกุลธนา. (2020). แสงสว่างและพฤติกรรมของมนุษย์. PSRU Journal of Science and Technology 5(1), 13-22.

สมาคมพัฒนาสิ่งแวดล้อม. (2566). ระบบแสงสว่าง. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://adeq.or.th/pdf.

สานิตย์ หนูนิล และกนกวรา พวงประยงค์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ในชนบทไทย. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2).

สุปัญญา ไชยชาญ. (2550). ยุทธศิลป์ของซูนวู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ และภาวนา สวนพลู. (2552). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://doctemple.wordpress.com

อริชัย อรรคอุดม. (2563). มุมมองด้านวัฒนธรรมกับกรอบการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค. วันที่ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/ jan_mar_11/pdf/aw13.pdf

DIGITAL TIPS. (2022). 7P (Marketing Mix) คืออะไร พร้อมวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้า. วันที่ค้นข้อมูล 15 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://thedigitaltips.com/blog/marketing/7p/.pdf.

Gall, M. D., & Brog, W. R. & Gall, J. P. (1996). Education Research: An Introduction (6th ed.). New York: Longman Publisher.

Ihoctot. (2565). ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคแบ่งเป็น 2 ทฤษฎีได้แก่อะไรบ้าง. วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://th.ihoctot.com/post/what-are-the-two-theories- of-consumer-behavior. pdf

Downloads

Published

2024-07-10