การตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัด

Decisions in using Customer Services Sitthathada Group Company Limited

Authors

  • ธิติฐิติโชค ปรางแก้ว

Keywords:

การตัดสินใจ, การบริการของลูกค้า, Decision Making, Customer Service

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัด และเปรียบเทียบการตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัดที่มีภูมิหลังต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ลูกค้าของบริษัทสิทธิธาดากรุ๊ปจำกัดสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 68 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับผู้วิจัยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามเท่ากับ .762 การวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ One -way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าระดับการตัดสินใจในการใช้บริการของลูกค้า บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =3.99, S.D. = 0.215) การทดสอบสมมติฐานพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ สถานะภาพสมรส การศึกษาและรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจในการใช้บริการภาพรวมไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารของบริษัทควรมีนโยบายในการอบรมให้พนักงานมีความรู้ความชำนาญในการทำงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุดมีนโยบายในการให้บริการที่รวดเร็วทันใจสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า  The purpose of this research is to study the decisions in using the services of customers of Sitthathada Group Co., Ltd. and compare the decisions in using services of customers of Sitthathada Group Co., Ltd. with different backgrounds. The sample group consisted of 68 customers of Sitthathada Group Company Limited using accidental sampling. The tools included: The questionnaire was a 5-level rating scale (Rating Scale). The researcher checked for content validity. By finding the index of consistency (IOC) of expert opinions and analyzing the confidence value. (Reliability) of the questionnaire by calculating the Cronbach Alpha Coefficient. The reliability coefficient alpha of the questionnaire was .762. This research Statistics were used to analyze the data, including percentage, mean, and standard deviation. Testing the means with t-test and One -way ANOVA. The results of the research found that the level of decision making in the use of services by customers of Sitthada Group Company Limited as a whole had a high average level (average =3.99, S.D.= 0.215) Testing the hypothesis found that the sample group with gender, age, and status Marriage, education and income have different opinions on the decision to use services. Overall, they are no different. Suggestions: The company's executives should have a policy to train employees with knowledge and expertise in working to respond to the needs of customers as much as possible. Have a policy to provide services that are quick and prompt, creating Satisfaction to customers

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2543). สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กลิ่นสุคนธ์ บรรทัดจันทร์ (2567) ทำวิจัยเรื่อง การศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารของคนในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2545). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2553). รัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ: เครื่องมือในการพัฒนาประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อินทภาษ.

นิรมล กิติกุล. (2550). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัท สิทธิธาดา กรุ๊ป จำกัด. (2566). รายงานประจำปี 2565. วันที่ค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://companieshouse.co.th/sitithada-group-co-ltd-0105559087687

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ปฐมพงค์ กุกแก้ว. (2564) ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กรณีศึกษา ที่ทำการไปรษณีย์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 210-224.

วราพรรณ สันทัสนะโชค. (2540). ความพึงพอใจของลูกค้าต้องการให้บริการของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน): ศึกษาเฉพาะกรณีสาขาพญาไท กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล.

ศูนย์รวบรวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี. (2564). 6 เทรนด์ที่จะเปลี่ยนการค้าดิจิทัลของไทยในปี 2565. วันที่ค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.smethailandclub.com/marke ting/7734.html

เสรี วงษ์มณฑา. (2550). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw Hill Book Company.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of Service quality and its implications for future research. Journal of marketing, 49, 41-51.

TCEB. (2566). การบริหารจัดการความเสี่ยง. วันที่ค้นข้อมูล 28 ธันวาคม 2566, เข้าถึงได้จาก www. https://www.tceb.or.th/files/policy-corporate/.pdf.

Downloads

Published

2024-07-10