ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม

Legal Problems and Obstacles Concerning on the Use of the Prime Minister’s Special Autority for Solving Environmental Pollution Problems

Authors

  • ปาริชาติ คุณปลื้ม

Keywords:

อำนาจพิเศษ, การแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม, Special Authority, Environmental Pollution Problem Solving

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมโดยการใช้อำนาจออกคำสั่งกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิตร่างกายหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐเป็นอันมากและผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวย่อมมีโทษและเพิ่มโทษสำหรับผู้ขัดขวางเป็นก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 98 จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มิได้กำหนดคำจำกัดความของคำว่า “เหตุฉุกเฉิน” และ “เหตุภยันตรายต่อสาธารณชน” จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการตีความและการใช้อำนาจตามมาตรา 9 ประกอบมาตรา 98 ของนายกรัฐมนตรีจนนำไปสู่ปัญหาบางประการที่ควรจะใช้อำนาจแก้ไขปัญหามลพิษแต่ก็ไม่ได้ใช้อำนาจทั้งที่เป็นเหตุฉุกเฉินและเป็นเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนโดยตรง ซึ่งถ้าให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการออกคำสั่งแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีภายในจังหวัดของตนเองซึ่งมีความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงมากกว่าที่จะรอคำสั่งมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้นการใช้อำนาจตามมาตราถือว่าเป็นอำนาจซ้ำซ้อนกับมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรียกว่าเป็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในลักษณะทั่วไปจึงก่อให้เกิดความสับสนของผู้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการโรงงาน หรือเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวที่จะต้องได้รับโทษตามมาตรา 98 ซึ่งเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเกษตรกรหาเลี้ยงชีพที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ออกตามมาตรา 9 และต้องรับโทษตามมาตรา 98 จากการศึกษาข้อเสนอแนะให้เพิ่มเติมคำจำกัดความของคำว่า “เหตุฉุกเฉิน” และ “เหตุภยันตรายต่อสาธารณชน” และให้อำนาจแก้ผู้ว่าราชการจังหวัดในการประกาศเหตุฉุกเฉิน หรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชนได้เองโดยไม่ต้องรอคำสั่งมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี และควรกำหนดบทลงโทษในกรณีที่เป็นบุคคลยากจนหรือมีเจตนาประกอบอาชีพโดยไม่รู้ว่ามีคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ได้ห้ามกระทำการกรณีหนึ่งกรณีใดตามคำสั่ง  This thesis aimed to examine legal problems and obstacles concerning the use of the Prime Minister’s special authority for solving environmental pollution problems by exercising the authority to tissue orders in case of emergency or danger being a serious risk to the public’s life, health, safety, and property or the state property. Violators or those who are not compliant with the orders or obstruct the orders shall be punished. A heavier penalty shall be imposed upon persons who obstruct and cause harm or damage from the pollution in accordance with the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B.E. 2535 (1992), Section 9 appurtenant to the Section 98. According to the study, it was found that the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act did not give a definition of “emergency” and “public danger”, causing problems and obstacles for the Prime Minister in interpreting and exercising authority under the Section 9 appurtenant to the Section 98. This led to some problems that the Prime Minister should exercise the authority to solve pollution problems but is unable to do so, though it is a direct emergency and public danger. If such authority is given to provincial governors who are closer to the fact in their provinces to issue orders, the problems shall be solved in a timely manner rather than waiting for the orders given by the Prime Minister. Besides, the exercise of authority under the Section 9 is considered being redundant to the environment protection measures prescribed in the Chapter 3 on environmental protection of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B.E. 2535 (1992), which is known as general environmental protection, causing confusion among persons who follow the law, especially factory operators or farmers feeding their families who have to compliant with the orders issued under the Section 9 and be punished under Section 98. The study recommends that the definitions of “emergency” and “public danger” should be given, and the authority should be given to provincial governors to declare an emergency or public danger without waiting for an order assigned by the Prime Minister. Punishment should be determined in the case of poor people or people who have intention to earn a living without knowing that there is an order of the Prime Minister that prohibits from doing something from the order. 

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (2541). ผลการสำรวจข้อเท็จจริง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่น้ำจืด, คณะทำงานเพื่อสำรวจตรวจสอบพื้นที่ ดำเนินการเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

คมวัชร เอี้ยงอ่อง. (2555). การดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศสหรัฐอเมริกา. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://www.library.coj.go.th/

ธนกฤต แดงทองดี. (2566). สถานการณ์ ซีเซียม - 137 กับข้อเรียกร้องขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่อการจัดการปัญหาวัสดุกัมมันตรังสี. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.seub.or.th/bloging/news/ 2023-94/

พงส์เพ็ญ ศกุนตาภัย. (2511). ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/023d3fa1301fef 4323c10fe6aa50adba

ยุทธพงศ์ ปิ่นอนงค์. (2560). การใช้อำนาจของประธานาธิบดีตามมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://dl.parliament.go.th/ handle/lirt/521115

สายใจ อุชชิน. (2551). มาตรการบังคับทางอาญาที่ใช้แก่นิติบุคคลในคดีสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2557). ปัญหาของระบบค่าปรับทางอาญาในประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://tdri.or.th/2014/03/fine-system

สุทธิชัย เลียงชเยศ. (2533). ผลการศึกษาวิเคราะห์เพื่อการกำหนดนโยบายและวิธีการควบคุมป้องกันและปรับปรุงแก้ไขพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 30(3).

อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (2558). ความกังวลของประชาชนที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการใช้อำนาจพิเศษของรัฐในสถานการณ์พิเศษ. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/ politics/361165

อู่แก้ว ประกอบไวทยกิจ บีเวอร์. (2543). มนุษย์ – ระบบนิเวศและสภาพนิเวศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อำนาจ วงศ์บัณฑิต. (2562). กฎหมายสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

The Standard. (2566). เทียบความรุนแรง ‘ซีเซียม - 137’ หายที่ปราจีนบุรีกับเหตุการณ์ในอดีต. วันที่ค้นข้อมูล 12 มีนาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://thestandard.co/cesium-137-violence-history/

Downloads

Published

2024-07-10