การพัฒนารูปแบบการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

Authors

  • อัมพร ธำรงลักษณ์

Keywords:

ครู, การเลื่อนขั้น, บุคลากรทางการศึกษา

Abstract

บทคัดย่อ          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ 4 สายงาน คือ สายงานการสอน สายงานบริหารการศึกษา สายงานบริหารสถานศึกษาและสายงานนิเทศการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ เอกสารจากต่างประเทศ 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงค์โปร์และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ศึกษาดูงานในประเทศสิงคโปร์และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2554 การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) 1 ที่เคยมีประสบการณ์ยื่นขอประเมินเลื่อนวิทยฐานะ การสัมภาษณ์ผู้บริหาร จัดการประชุมกลุ่มย่อยรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาได้นำเสนอหลักเกณฑ์และแนวคิดการประเมิน 360 องศา ที่ใช้ในการเสนอรูปแบบการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน 4 สายงาน พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติเพื่อให้สำนักงาน ก.ค.ศ. สามารถนำไปปรับใช้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในอนาคต   Abstract            The research study aims primarily to study the model of academic ranking assessment of teacher cavil service and educational personnel and to develop criteria and methods for the four tracks of personnel, including teaching, administration educational institution, educational administration, and education supervision. Varieties of methods in gathering data for the study are employed. Documentary researches of four difference countries, such as Unites States of America, England, Singapore and Hong Kong, were investigated. In August, , the research team had site visit to the government agencies responsible for educational assessment and development and schools in Hong Kong and Singapore. Executives in Ministry of Education and a number of stakeholders who had requested for the promotional assessment from all four career tracks were interviews to provide information on the problems, obstacles, issues arising from the assessment process, and trends for future evaluation. Focus group method was also conducted among experts in the field on March 8, 2012. Lastly, public hearing was organized on April 2, 2012 to gather ideas and recommendations on the proposed model. A model for academic ranking assessment of teacher civil and educational personnel based on 360 degree evaluation is proposed in this study together Civil Service and Educational Personnel Commission in the future.

Downloads