พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร: ศึกษาเปรียบเทียบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

Authors

  • พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์

Keywords:

การเลือกตั้ง, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

Abstract

          บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน โดยได้ศึกษาพฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สำคัญ 4 ประการ คือ สถานะทางสังคมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ระบบอุปถัมภ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องการเลือกตั้งจากสื่อแขนงต่างๆ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ต่อพฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขอผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีสถานภาพทางสังคมอยู่ในระดับสูง และประชาชนส่วนใหญ่อาจมองว่าระบบอุปถัมภ์ไม่มีบทบาทต่อการเลือกตั้ง แต่จากการศึกษาพบว่า ระบบอุปถัมภ์ยังมีอิทธิพลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครอยู่ โดนเรียกระบบอุปถัมภ์นี้ว่าเป็นระบบอุปถัมภ์แบบต่อเนื่อง กล่าวคือ หากผู้สมัครต้องการได้รับการเลือกตั้งทุกสมัยผู้สมัครต้องทำประโยชน์และช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมิใช่เพียงช่วงระยะเวลาในกรหาเสียงนั้นส่วนตัวแปรสื่อในการรณรงค์การเลือกตั้ง แพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิวุฒิสภาพ.ศ. 2550 ไม่มีอิทธิพลมากนักต่อกาออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน            The project investigates the electoral behavior of voter in the Bangkok Metropolitan area. We compare voter turnout and behavior in the recent General Elections and the Bangkok Metropolitan Council Election, emphasizing four key variables: socio-economic status; clientelistic network; media and information on elections; and the 2007 Electoral Law. We reveal that, while other factors do not strongly influence turnout and behavior of Bangkok voters, clientelistic relationships between voters and candidates play a vital role. Although people in Bangkok generally have a higher socio-economic status than their counterparts outside the capital, the clientalistic networks continue to play a significant role in mobilizing turnout and shaping voting behavior. These networks, though, are not without cost for politicians. Persistent clientelism forces candidates to continually provide human and material resources to voters even between elections in order to maintain their political influence.

Downloads