ความผูกพันพรรคการเมืองในสังคมไทย: ศึกษาเปรียบเทียบพรรคประชาธิปัตย์ในสงขลาและตาก

Authors

  • ชนกนาถ พลูสวัสดิ์

Keywords:

พรรคการเมือง, พรรคประชาธิปัตย์, จังหวัดสงขลา, จังหวัดตาก, สังคมไทย

Abstract

          บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งของคนสงขลาและคนตากที่เลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นเวลาต่อเนื่องหลายครั้งในการเลือกตั้งที่ผ่านมา และเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกลไก ยุทธศาสตร์ของพรรคและของผู้สมัครในกาสร้างความผูกพันพรรคการเมืองในจังหวัดสงขลาและจังหวัดตาก ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีเครื่องมือในการวิจัยอันประกอบไปด้วย แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปัตย์และผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง จังหวัดตาก จังหวัดละ 100 คน รวม 200 คน ผลการวิจัยพบว่า ความผูกพันพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดสงขลาไม่ได้เกิดจากการสร้างฐานคะแนนเสียงอันมีประสิทธิภาพของพรรค แต่เกิดจากมุมมองและแบบแผนทางการเมืองที่พบได้ในคนใต้ทั่วไป โดยเฉพาะความนิยมอดีตหัวหน้าพรรคนายชวน หลีกภัย นอกจากนี้ยังพบว่ากระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองจากครอบครัวและสังคมคนใต้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ความผูกพันพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดตากเกิดจากความนิยมในตัวผู้สมัครในการดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ และคุณสมบัติส่วนบุคคลของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความผูกพันและการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้พรรคประชาธิปัตย์ จะเห็นได้ว่าความผูกพันพรรคประชาธิปัตย์ของทั้งสิงจังหวัดมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุแตกต่างกัน แต่พบว่าในทั้งสองจังหวัดพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีการสร้างกลไกของพรรค เช่น สาขาพรรค เพื่อวางรากฐานการสนับสนุนและสร้างฐานคะแนนเสียงอย่างยั่งยืน           There are two main objectives of this thesis. First, is to explore factors that influence electors’ decision in Songkhla and Tak provinces where the Democrat Party have continuously had a winning streak for many elections. And second, to compare strategies, tactics, and approaches, employed by the Democrat Party and its candidates in establishing strong voting bases in the two provinces locate in different region of Thailand. The sample population of this study is 200 electors from Amphur Muang of Songkhla and tak Province (100 from each province) who vote for Democrat Party and its Candidates in general election on July 3, 2011. The study utilizes qualitative analysis and descriptive methods by conducting questionnaire surveys and in-depth interview.          The finding suggests that party identification of the Democrat Party in Songkhla does not derive from the party’s effectiveness in building its voting bases, but instead, is a result of political perception and pattern of behavior of the Southern People, especially the and appreciate toward Mr. Chuan Leekpai, a former prime Minister. Moreover, political socialization, influenced by family and social interface, found to be a strong factor generating political identification in Songkhla. Meanwhile, the study reveals that the party identification in Tak results from the popularity of is candidate, based basically on the perception of candidate’s individual cardinal virtue, and from the candidate’s ability in handing the voter’s need. A notable detection is that in both provinces, the Democrat Party has never exercised party’s machine and mechanism, such as party branches, in establishing effective, reliable, and sustainable voting bases.

Downloads