สถานการณ์ครอบครัวไทย: กรณีศึกษาครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ครอบครัว, พ่อแม่เลื้ยงเดี่ยว, กรุงเทพฯAbstract
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สาเหตุในการเป็นครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว (2) บทบาทขอผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่หลังจากเป็นครอบครัวพ่อแม่เลี่ยงเดี่ยว (3) ผลของการอบรมเลี้ยงดูลูกจากครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว (4) ความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปที่มีต่อครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว วิธีดำเนินการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) การวิจัยเกสาร (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิควิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกให้ผู้ให้ข้อมูลรวม 10 คน(3) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ถามความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปที่มีต่อครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว จำนวน 500 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณนั้น วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เป็นค่าร้อยละ ข้อมูลเชิงปริมาณนั้นนำมาใช้เพื่อเป็นข้อมูลเสริมหรือสนับสนุน (Supplements) ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมมาโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) สาเหตุสำคัญของการเป็นครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่เกิดจากการหย่าร้างรองลงมา คือ การเสียชีวิตของคู่สมรส และการละทิ้งแยกทากันไปตามลำดับ (2) บทบาทของผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่หลังจากการเป็นครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว พบว่ามีความตึงเครียดมากกว่าบทบาทของพ่อแม่ครอบครัวปกติ (3) ผลของการอบรมเลี้ยงดูลูกจากครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว พบว่าครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวทุกครอบครัวที่ผู้วิจัยไปศึกษามานั้นทุกคนมีความเหนื่อยยากลำบากในการเลี้ยงลูกจนประสบความสำเร็จได้ ถึงแม้ว่าจะมีพ่อหรือแม่เพียงคนเดียวก็ตาม (4) ความคิดเห็บของบุคคลทั่วไปที่มีต่อครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว พบว่าบุคคลทั่วไปส่วนใหญ่ให้การอมรับครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวมากกว่าที่จะไม่ยอมรับ The purposes of this study are: (1) to study the cause of single parent families (2) to study the role of single parent families (3) to study the effects of socialization of single parent families and (4) to study opinion from public about single parent families Research methodology employed in this study included: (1) documentary research; (2) qualitative research by in-depth interview technique to interview ten informants; and (3) quantitative research by survey method. Five hundred questionnaires about single parent families were collected from public as a data. Qualitative data analysis was implemented by descriptive analysis if information derived from ten key information while quantitative data analysis was performed through descriptive statistics including percentage to support qualitative data. It can be concluded that (1) the main cause of single parent families was divorce while other cause include spouse’s death and breaking up (2) the role of being a single parent was very strain (3) bringing up children by a single parent is mostly successful; and (4) public commonly accepted single parent families.Downloads
Issue
Section
Articles