การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต: มิติความสุข
Keywords:
การพัฒนาเครื่องมือ, คุณภาพชีวิต, มิติความสุขAbstract
บทความนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตในมิติความสุขและนำเครื่องมือวัดความสุขในระดับปัจเจก ที่พัฒนาขึ้นมาไปทดสอบเบื้องต้นกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ใช้ในการพัฒนาตัวชี้วัดโดยวิธีเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อหาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อวามสุข วิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ประชากรในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ตัวอย่าง ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Mulit-stage Sampling) ผลจากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบคุณภาพชีวิตในมิติความสุขในระดับปัจเจก จาการศึกษาแนวทางการสร้างประกอบพื้นฐาน (Basic Approach) และแนวทางการสร้างองค์เชิงบูรณาการ (Integrated Approach) ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบพื้นฐาน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ เวลาและการใช้เวลาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ สุขภาพกายสุขภาพใจ ครอบครัว สภาพแวดล้อม การศึกษา/การเรียนรู้ การทำงาน การมีเป้าหมายในชีวิต และตัวแปรอิสระที่สำคัญที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน คือ รายได้ เป็นปัจจัยร่วม และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับองค์ประกอบพื้นฐานและองค์ประกอบเชิงบูรณาการ เป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับการพัฒนาจิตใจ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความรูสึก/อารมณ์ทางบวก ความสงบในจิตใจ ความเชื่อ/ความศรัทธา/การปฏิบัติทางศาสนา ปัจจัยร่วมที่มีความสัมพันธ์ คือ การมีเป้าหมายในชีวิต และครอบครัว This research aimed to develop the quality of life index: a happiness concept and bring the developed life index-individual happiness to have a basic test with the sample group through research methodology. The documentary research was employed to develop the index by content analysis, and the quantitative research was employed to find the relationship and factors affecting happiness by factor analysis and partial correlation using 300 samples aged 18 and beyond residing in Chon Buri and Samut Prakan province, obtained by multi-stage sampling. The results showed that the life quality: individual happiness comprised 2 main components-basic Approach and Complementary Approach; both totally comprised 11 components in details. The basic approach consisted of 8 components namely 1) time and relaxation 2) physical health 3) mind health 4) family 5) environment 6) education/learning 7) working and 8) life meaning. The income-a co-factor which and position relation with basic component was the main independent variables, the basic factor. The complementary approach-life quality component: happiness in mind development consisted of 3 components i.e. 1) feeling and positive emotion 2) mind serenity 3) belief/faith/religious practices. The relating co-factor was life meaning and family.Downloads
Issue
Section
Articles