การับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550
Keywords:
การรับฟังความคิดเห็น, สิ่งแวดล้อม, รัฐธรรมนูญAbstract
การรับฟังความคิดเห็น (Public Consultation) เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Participation) ตามแนวทางประชาธิปไตย เป็นการให้ประชาชนตระหนักและรับรู้ถึงสิทธิที่ตัวเองพึงมี เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารงานภาครัฐในการตัดสินใจดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่รอบด้สนไม่เฉพาะแต่ฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลจากประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบอีกด้วย ทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่รอบด้านคำนึงถึงผลได้ผลเสียที่กระทบทั้งในผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ผลประโยชน์ปัจเจกชน (Private Interest) อันส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจมีความโปร่งใส (Transparency of Decision Making) และมีประสิทธิภาพ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ความปลอดภัย ความเป็นอยู่ โดยที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงและโดยอ้อมไม่ได้มีส่วนรับรู้หรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นข้อคัดค้านหรือมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ผลที่ตามมาทำให้ประชาชนไม่ยอมรับโครงการต่างๆ เนื่องจากผลกระทบที่ประชาชนได้รับ เช่น เรื่องมลภาวะต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัย วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวถ้าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นต่อภาครัฐก็เป็นการช่วยภาครัฐด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อให้การตัดสินใจของภาครัฐในการดำเนินโครงการและตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นไปได้ดีขึ้น ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นบัญญัติไว้โดยตรง มีเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ที่ได้บัญญัติไว้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น แต่มีข้อจำกัดคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 เป็นเพียงระเบียบภายในของฝ่ายปกครองเท่านั้นที่ฝ่ายปกครองจะใช้ระเบียบหรือไม่ใช้ก็ได้ เพราะมิใช่กฏหมาย ทำให้การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนออกคำสั่งทางปกครองมีไม่เต็มที่และไม่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงความเป็นมาของหลักเกณฑ์ และวิธีปฎิบัติทางกฏหมายในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจของรัฐที่มีผลกระทบต่อประชาชน แนวความคิด หลักการสำคัญ ของการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในประเทศไทยและในต่างประเทศ และศึกษาสภาพปัญหาทางกฏหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนจากการดำเนินงานตามโครงการของรัฐ ผู้ศึกษาเสนอแนะให้มีการตราพระราชบัญญัติกฏหมายการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนขึ้นมา โดยให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรการ กระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการแสดงความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงานโครงการอันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชน และมีองค์กร บุคลากรที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ ซึ่งเมื่อตราเป็นพระราชบัญญัติแล้ว จะมีผลบังคับให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนของกฏหมายที่กำหนดไว้เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ประชาชนว่า หากหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฏหมายกำหนดไว้ถือว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายประชาชนที่เสียหายอาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ This public consultation is a process to provide a chance for public participation in accordance with democracy. It is a way to encourage the public to realize and be aware of their legitimate rights to take part in the management of public in making decision on various projects; and to gain all the surrounding information not only from the decision makers, but also from affected people. The public consultation makers the decision based on the thorough information, taking consideration on good and bad impacts which may affect public and private interests. This makes the decision process transparent and efficient. On the contrary, the public hearing process relating to environment, way of life, safety, living condition – where the public who are affected directly or indirectly are not allowed to participate or express their opinion/objections, or fully take part will surely arouse people to object the projects which pollutions affect their health, safety, way of life, and living condition. Such problem can be solved if the public can participate in expressing their opinion to the government. It will help the government in decision making for project management, and the better response to the need of the public, which will be beneficial for both sides. From the study, it was found that Thailand still does not have specific law on public hearing. The only relevant instrument is the Prime Minister Office Regulation on Public Hearing B.E. 2548 which stimulate and provides a chance for people to participate in public hearing process. However, it is in limited scope because the Prime Minister Office Regulation on Public Hearing B.E. 2548 is merely an internal regulation of the administrative agencies. Administrative officers have discretion to whether comply with the regulation because it is not a law. As a result, public participation in the issuance of administrative order is neither fully engaged nor efficient. This thesis aims at the studies of the history of principle and legal practice in the public hearing and public participation in government’s decision-making process which has impacts on the public. It also aims to study concept and main principle of the public hearing in Thailand and foreign countries, as well as to study legal problem which has impact on people affected by the management of government projects. The researcher proposes to process the legislation concerning public hearing enacted. The law should provide the principles, procedures, measures, and process which promote the expression of public opinion on the government decision which has impact on the environment, and the public. There should be independent agencies and personnel who are not intervened by the state. When the legislation is enacted, it should be binding every entity, including state, government agencies, government officials, and the general people who have to comply with the law, process, and procedures under such law. This legislation will ensure that whenever government agencies or government officials fail to comply with the rules or process which is stipulated by law, such action shall be deemed illegitimate, and the affected people are entitled to bring the cases to administrative court.Downloads
Issue
Section
Articles