เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารโครงการสัญญาณห่วงใยเพื่อผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี
Keywords:
โครงการสัญญาณห่วงใยเพื่อผู้สูงอายุ, การบริหารโครงการ, ผู้สูงอายุAbstract
ชลบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของไทย มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามลำดับสถิติจำนวนผู้สูงอายุจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2554 พบว่า เทศบาลเมืองศรีราชาซึ่งเป็นเทศบาลหนึ่งในจังหวัดชลบุรีมีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 10.46 ของประชากรในเขตเทศบาลเมืองทั้งหมด เทศบาลเมืองศรีราชาเป็นเทศบาลที่ให้ความสำคัญกับการจัดบริหารสาธารณะให้กับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง โดยได้ริเริ่มโครงการสำคัญโครงการหนึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ “โครงการสัญญาณห่วงใย” การวิจัยเรื่อง เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารโครงการสัญญาณห่วงใย เพื่อผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการบริหารเครือข่ายความร่วมมือโครงการสัญญาณห่วงใย 2. ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือโครงการสัญญาณห่วงใย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารเครือข่ายโครงการสัญญาณห่วงใยประกอบด้วย 1. มิติด้านการปกครอง 2. มิติด้านการบริหาร3. มิติด้านความเป็นอิสระ 4. มิติด้านการแบ่งปันข้อมูลที่เกิดประโยชน์ร่วมกัน5. มิติการแลกเปลี่ยนและการสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน โครงการสัญญาณห่วงใยแบ่งประเภทกลุ่มเป้าหมายในโครงการออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่1. ผู้สูงอายุเจ็บป่วยอยู่บ้านลำพัง 2. ผู้สูงอายุเจ็บป่วยมีผู้ดูแล 3. ผู้สูงอายุแข็งแรงดีอยู่ลำพัง นอกจากนั้นโครงการยังครอบคลุมการติดตั้ง ณ จุดแจ้งเหตุปัจจุบันเทศบาลสามารถบริการผู้สูงอายุได้จำนวนทั้งสิ้น 118 คน จุดแจ้งเหตุจำนวน 16 แห่ง รวมทั้งสิน 134 คน/แห่ง เครือข่ายความร่วมมือในโครงการสัญญาณห่วงใย ใช้โทรศัพท์ในการแจ้งเหตุ โทรศัพท์จะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่ม ได้แก่สีน้ำเงิน การขอความช่วยเหลือสุขภาพ สีแดง แจ้งเหตุเพลิงไหม้ และสีเขียนเหตุด่วนเหตุร้าย การแจ้งเหตุแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แจ้งเหตุเจ็บป่วยจำนวน 161 ครั้ง (ร้อยละ 37.89) แจ้งเหตุอัคคีภัยจำนวน 123 ครั้ง (ร้อยละ 28.94) และแจ้งเหตุร้าย เช่น ทะเลาะวิวาท โจรกรรม จำนวน 141 ครั้ง (ร้อยละ 33.17) รวมทั้งสิ้น 425 ครั้ง (ร้อยละ 100) ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ปัญหาขาดการประสานงานอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่จะเป็นการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ ปัญหาด้านเทคนิค มาตรฐานของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการมีไม่เพียงพอ ขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย การประสานงานระหว่างเครือข่ายด้วยกันยังขาดประสิทธิภาพ เครือข่ายความร่วมมือในการบริหารโครงการสัญญาณห่วงใยผู้เกี่ยวข้องจึงมีความเป็นอิสระและเข้ามาทำความร่วมมือกันเพราะต่างมีประโยชน์ส่วนตนและผสานผลประโยชน์ส่วนตนเข้ากับผลประโยชน์ส่วนรวมได้ดี การแลกเปลี่ยน/การปันข้อมูลต่างๆ จึงยังไม่เต็มที่หน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมมือกันนั้นมีความร่วมมือในการทำงานมาก่อนหน้าที่จะมีโครงการสัญญาณสายใยจึงมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยมีดังนี้ 1. การพัฒนาระบบโทรศัพท์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องถ่านหมด และควรเพิ่มข้อมูลการทำงานของสมาชิกในเครือข่ายเพื่อใช้ในการติดตามและประเมินผล 2. ควรมีการประเมินผลการทำงานในระหว่างการปฏิบัติงานรวมทั้งควรมีการประเมินผลเมื่อครบปีของการทำงานเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงการทำงาน 3. ควรพิจารณาเรื่องจำนวนเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการให้เพียงพอและควรอบรมเจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองศรีราชาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบสัญญาณ เรื่องการช่วยชีวิตผู้สูงอายุ 4. ควรมีการจัดหาอุปกรณ์ที่เพียงพอ ทันสมัยต่อการใช้งาน เช่น รถพยาบาลที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางกาแพทย์สำหรับช่วยชีวิต 5. ควรกำหนดให้มีการประชุมระหว่างสมาชิกเครือข่ายที่แน่นอนเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ความล่าช้าในการทำงานและกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมร่วมกัน Chonburi province is a province in the Eastern part of Thailand where the number of elderly of Chonburi is increasing. The statistics from the Department of Provincial Administration, Ministry of the Interior in the year of 2011, Sriracha Municipality has 10.46 percent of the elderly population of all people. Sriracha Municipality is a municipality with a focus on public services for the elderly continually. By initiating a major program was the first of Thailand is “Help Telephone Project for the Elderly People.” The research, named, “Collaboration networking in Administration on Help Telephone Project for the Elderly people of Sriracha Municipality, Chonburi Province “aims 1.To study the project network management process and 2. to study the problems of the project network managing. This research was a qualitative research including study documentation and interviews. The results showed that the project management process consisted of 1. The governance dimension with a memorandum of agreement between the partnerships 2. The management dimension 3. The freedom dimension 4. The exchange and the creation of the trust dimension and 5. The exchange and the creation of the trust dimension. The target groups were categorized into three groups which were: 1. The eiderly sick at home alone 2. The elderly sick with caretaker 3. Healthy elderly at home alone. The project also included the installation at the emergency points. Now, the municipality could serve 118 of the elderly, 16 emergency points. The total number was 134 points. The help telephone had three buttons. A blue one was healthy help. A red one was fire emergency and a green one was general emergency. Currently notifications were divided into three categories: emergency medical 161 times (37.89 percent) , fire 123 times (28.94 percent ) and catastrophic such as controversy as identity theft 141 times (33.17 percent). The total notifications were 425 times (100 percent). The problems encountered the lack of official coordination because most would work unofficially, technical issues, standards of staff, officers in change of the between network performance were still lacking. The stakeholders had the freedom and I had come together and merge their personal interest with the interests of the public goods. Exchange or allocation information was not efficiency. The organizations had participates in the work prior tithe project were very high mutual trust. Suggestions for research were: 1. To develop a telephone system to solve the battery problem and to add information to member of the network to be used in the monitoring and evaluation. 2. Should be evaluated during the operation and should be evaluated at the end of the year to improve performance. 3. Should consider the number of officers in charge of the project and provide adequate training to the understanding of the signaling system and the rescue of the elderly, 4. Should be provided with adequate equipment such as ambulances and medical rescue and finally 5.Should be a meeting between members of the network to solve the work obstacles, the delay in the operation and defined performance optimized together.Downloads
Issue
Section
Articles