การพัฒนาโมเดลพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Authors

  • ธีระ กุลสวัสดิ์

Keywords:

การศึกษากับเทคโนโลยี, การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, การเรียนการสอนผ่านเว็บ, เทคโนโลยีทางการศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศิลปกร มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 450 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่ง แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอีเลิร์นนิ่ง และแบบวัดเจตคติต่อการใช้อีเลิร์นนิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL          ผลการวิจัยหลักปรากฏว่า         1. โมเดลพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning Usage Model: EUM) ที่ค้นพบประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับอีเลิร์นนิ่ง ความตั้งใจในการใช้อีเลิร์นนิ่ง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่ง เป็นสาเหตุทางตรงของพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่ง ส่วนสาเหตุทางอ้อม ได้แก่ การรับรู้ว่าอีเลิร์นนิ่งง่ายต่อการใช้ การยืนยันการใช้อีเลิร์นนิ่ง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ว่าอีเลิร์นนิ่งมีประโยชน์ ความพึงพอใจต่อการใช้อีเลิร์นนิ่ง และเจตคติต่อการใช้อีเลิร์นนิ่ง         2. โมเดลที่พัฒนาขึ้น (Proposed Model) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (X2/df เท่ากับ 2.02 ค่า GFI เท่ากับ .95 ค่า CFI เท่ากับ .99) ตัวแปรโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ร้อยละ 53           The objectives of this research were to develop an e-learning usage model among undergraduates, and to validate the consistency of models explaining e-learning using behavior of undergraduate students with empirical data. The samples were 450 undergraduate students from Burapha University, Silpakorn University, Naresuan University, Prince of Songkla University, and Thaksin University. The samples were drawn from a multi-stage sampling method. The research instruments in collecting data were a questionnaire on causal relationship of variables influencing an e-learning using behavior, an e-learning knowledge and understanding test, and an attitude test in using e-learning. This research was analyzes by constructing the validity analysis. The coherence of causal relationship model and the empirical data with LISREL          The result indicated that         1. The E-Learning Usage Model (EUM) discovered were consisted of knowledge in e-learning, intention in using e-learning, and perceived behavior control in using e-learning. These factors are directly affected to behaviors in using e-learning. While, indirect factors are perceived ease of use on e-learning, confirmation on using e-learning, subjective norm on using e-learning, perceived usefulness of using e-learning, satisfaction on using e-learning, and attitude on using e-learning.           2. The proposed model was consistent with the empirical data in an acceptable fit (X2/df = 2.02, GFI = .95, CFI= .99). The variables in the model accounted for 53 percent of the variance of undergraduate students’ behavior in using e-learning.

Downloads