กระบวนการโบโลญญ่าและบทเรียนต่อการอุดมศึกษาอาเซียน

Authors

  • นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ

Keywords:

การศึกษา, การศึกษาขั้นอุดมศึกษา, การพัฒนาการศึกษา, ความร่วมมือทางการศึกษา, กระบวนการโบโลญญ่า

Abstract

          ในขณะที่ภูมิภาคอาเซียนกำลังจะก้าวเข้าสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ค.ศ. 2015 นี้ประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงกันในช่วงเวลาที่ผ่านมา คือ อาเซียนจะใช้กลไกแบบเดิม หรือจะมีกลไกใหม่ ๆ อื่นใดในการผลักดันให้เกิดการบูรณาการในการสร้างเป็นประชาคม (Community) ในอดีต การรวมตัวกันเป็นประชาคมมีตัวอย่างสำคัญที่หลาย ๆ ภูมิภาคมุ่งที่จะดำเนินรอยตามนั่นคือ การรวมตัวกันของสหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีการเคลื่อนไหวและมีกระบวนการในการบูรณาการในเชิงนโยบายและกลไกต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อนึ่ง ในการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรปนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นปลายทาง (End) ที่ประเทศสมาชิกมุ่งหวัง หากแต่ยังมีความสำคัญในฐานะที่เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดเสถียรภาพทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และมากไปกว่านั้น คือ การก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) และความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) กับภูมิภาคอื่น ๆ เช่นกัน จุดมุ่งหมายสำคัญของบทความนี้ คือ ความพยายามในการสะท้อนภาพและมุมมองของการบูรณาการที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรปที่ถือเป็นบทเรียนสำคัญในการใช้กลไกทางด้านการอุดมศึกษาผ่านกระบวนการโบโลญญ่า (Bologna Process) โดยกระบวนการดังกล่าวนี้เป็นตัวจักรหลักในการผลักดันให้เกิดการบูรณาการทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ โดยถูกใช้เป็นฐานในการสร้างศักยภาพของทุนมนุษย์ที่จะทำให้กระบวนการบูรณาการเกิดขึ้นได้อย่างไร้รอยต่อและมีความเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาและสร้างการได้เปรียบทางเศรษฐกิจโดยมิต้องพึ่งพาภาคส่วนทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ในบทความนี้ประกอบไปด้วยการอภิปรายและกล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) กระบวนการโบโลญญ่ากับสหภาพยุโรป 2) ที่มาและความสำคัญของกระบวนการโบโลญญ่า 3) ผลของกระบวนการโบโลญญ่ากับการปฏิรูปและการบูรณาการทางด้านอุดมศึกษาของยุโรป และ 4) ภูมิภาคอาเซียนกับการบูรณาการอุดมศึกษา            Upon entering the ASEAN Community in 2015, a controversy is still on whether a traditional mechanism would still be most effective in driving the region towards a full integration and what sort of other mechanisms can be alternatives. In the past, Europe has been cited as one of the most successful example of countries integrating into a single community. The European Union has become the epitome of regional integration both in terms of policy and mechanisms. The European Union is not only an ends in itself, but for member countries, it is also an economic, political and social stabilizer for the whole region. Moreover, the regional integration is also perceived as a means to maintain the regional sustainability and economic competitive advantage. The main argument of this article is to reflect the lessons from the European Union in its using of the harmonization of higher education sector through the Bologna Process as the key engine to accommodate the economic and social integration. The harmonization of higher education has been employed in Europe to facilitate the seamless integration at all levels and, most importantly, to create a pool of resources on which the regional economic development and social cohesion are to be based. This article therefore reviews, firstly, Europe and the Bologna Process. Secondly, it looks at the background and essence of the Bologna Process. The third section discusses the impacts of the Bologna Process and the harmonization of higher education in Europe. Finally, this article examines the implication of the harmonization of higher education in the ASEAN context.

Downloads