แนวทางการจัดทำข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐภายใต้กรอบกฎหมายระหว่างประเทศ: ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศสหรัฐอเมริกา

Authors

  • ธนัชพร พาณิชย์กิจเจริญ

Keywords:

การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, สหรัฐอเมริกา, กฎหมายระหว่างประเทศ, การค้าระหว่างประเทศ, เขตการค้าเสรี

Abstract

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางการจัดทำข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ ในกฎหมายแม่แบบของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (UNCITRAL Model Law on Public Procurement) โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อบทดังกล่าวภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีของสหรัฐอเมริกา (United States’ FTAs) เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อทบทวนกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องและเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเจรจาจัดทำข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ            ผลการศึกษาพบว่า กรอบกฎหมายระหว่างประเทศตามกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มีแนวทางพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการ ได้แก่ หลักการทางเศรษฐกิจตามหลักความคุ้มค่า หลักความสามารถในการเข้าแข่งขันหลักความมีประสิทธิผล หลักความโปร่งใส่ หลักความรับผิดชอบ หลักการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน และหลักความซื่อตรง และพบว่าข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามความตกลงเขตการค้าเสรีมีแนวทางในการจัดทำข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยใช้หลักการพื้นฐานในรูปแบบเดียวกัน ส่วนกฎระเบียบของประเทศไทยยังไม่มีความสอดคล้องกับแนวทางพื้นฐานในการจัดทำข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในบางประเด็น ได้แก่ 1) แนวทางการจัดทำข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามหลักการทางเศรษฐกิจตามหลักความคุ้มค่า (Value for Money) ซึ่งไม่มีบทบัญญัติในการพิจารณาข้อเสนอราคาที่ต่ำผิดปกติ 2) หลักความสามารถในการเข้าแข่งขัน (Competitiveness) ยังไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดหรือตรวจสอบการเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการเข้าแข่งขันของผู้ประกอบการ มีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination) และมาตรการสิทธิพิเศษ (Offset) ไม่มีบทบัญญัติในเรื่องของการกำหนดรายละเอียดทางเทคนิค และเรื่องการกำหนดรายละเอียดที่จำเป็นในเอกสารประกวดราคาที่ยังไม่เพียงพอแก่ผู้ประกอบการในการเตรียมการและยื่นข้อเสนอราคา 3) หลักความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ในเรื่องของขอบเขตและความครอบคลุมที่ยังไม่ครอบคลุมทุกหน่วยงานของภาครัฐ ในเรื่องของกำหนดระยะเวลาที่น้อยเกิน ไปสำหรับให้ผู้ประกอบการเตรียมการและยื่นข้อเสนอราคา การตัดสิทธิของผู้ประกอบการที่มีลักษณะต้องห้ามที่ยังกำหนดเงื่อนไขที่ยังไม่เพียงพอลักษณะอื่น ๆ และ 4) แนวทางตามหลักการปฏิบัติที่ธรรม (Fairness) และเท่าเทียมกัน (Equitability) ซึ่งไม่มีบทบัญญัติเรื่องการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ            ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติพิจารณาปฏิเสธข้อเสนอราคาที่ต่ำผิดปกติ เพื่อป้องกันปัญหาการทิ้งงานหรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ 2) แก้ไขบทบัญญัติในเรื่องวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อความเหมาะสมและเอื้อประโยชน์ในการเข้าแข่งขันทั้งผู้ประกอบการ 3) ให้แก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 16 ข้อ 61 และข้อ 71 ให้สอดคล้องกับหลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติและหลักการไม่เลือกปฏิบัติ 4) เพิ่มเติมในเรื่องของรายละเอียดเงื่อนไขทางเทคนิค 5) เพิ่มเติมในเรื่องของรายละเอียดข้อมูลของเอกสารประกวดราคาที่จำเป็นสำหรับการเตรียมการและยื่นแบบตอบรับการเข้าร่วม 6) เพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ให้ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่น เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันและสะดวกต่อการบริหารจัดการ 7) แก้ไขในเรื่องของกำหนดระยะเวลา ให้ระยะเวลาที่เพียงพอสำหรับการเตรียมการและยื่นเอกสาร 8) ให้เพิ่มเติมบทบัญญัติคุณลักษณะต้องห้ามเข้าประกวดราคาของผู้ประกอบการ และ 9) ให้เพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ โดยห้ามมิให้เปิดเผยข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอต่อผู้ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นหรือต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเจรจาข้อบทว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับประเทศสหรัฐอเมริกาในอนาคต            This dissertation has an objective to study the outline for Government Procurement Chapter under the international law framework, especially in the UNCITRAL Model Law on Public Procurement and the United States’ FTAs agreement, in order to utilize it as an approach for the revision of related Thai laws and to prepare Thailand for the negotiation regarding the preparation of the negotiate on Government Procurement Chapter.            The result of the study shows that the framework of international laws according to the UNCITRAL Model Law on public procurement has 7 essential fundamental principles, which are value for money, competitiveness, effectiveness, transparency, accountability, fairness and equitability as well as integrity. It has also been discovered that the public procurement chapter according to the United State’ FTAs shares the same elemental principles as the public procurement chapter. However, regulations in Thailand are not yet in accordance with the fundamental approach for the preparation of public procurement chapter in some certain aspects, i.e. 1) the outline for the preparation of the public procurement chapter according to value for money since there is no ordinance concerning the consideration of Abnormally-low price offers, 2) the principle of competitiveness since there is no ordinance which determines or inspects the appropriate approach for the procurement method that does not benefit the entering into competition of entrepreneurs. On the other hand, an ordinance which is not in accordance with the non-discrimination principle and the offset measure still exists. Additionally, there is no ordinance regarding the technical specification conditions and essential details in tender documents which is not yet sufficient for the preparation and price offering of suppliers, 3) the principle of effectiveness in terms of extent and comprehensiveness which do not yet cover all public sectors, the time limit which is too tight for the preparation and price offer of suppliers, the disqualification of entrepreneurs with prohibited characteristics which still has insufficient conditions, and 4) the approach which is in accordance with fairness and equitability since there is no ordinance concerning the non-disclosure of information.            Thus, it is suggested that there should be additional amendments as follow: 1) The ordinance regarding the consideration to decline offers which are abnormally-low price to prevent the problem of work abandonment or failure to follow the contract should be added, 2) The ordinance concerning the methods of procurement should be adjusted to make them appropriate and beneficial for supplier’s entering into competition, 3) The Prime Minister’s Office’s regulation on procurement (1992) article 16, 61 and 71 should be amended so that they are in accordance with the principles of national treatment and non-discrimination, 4) There should be an addition regarding the details of technical specification conditions, 5) There should be an addition regarding the details of tendering documents which are essential for the preparation and submission of acceptance form, 6) There should be an addition in the Prime Minister’s Office’s regulation on procurement (1992) so that it covers state enterprises and local public sectors for equal standard and convenient administration, 7) The time limit for the preparation and submission of documents should be extended, 8) The ordinance regarding prohibited characteristics of supplier who wish to submit a tender should be added, 9) The ordinance concerning the non-disclosure of information which prohibits the disclosure of offers for those who are not related to such procurement or for other proposers should be added as a way to prepare Thailand for the negotiation regarding to public procurement chapter with the United States in the future.

Downloads