การศึกษาความต้องการและมุมมองเชิงการพัฒนา: ผลต่อการกำหนดร่างแผนพัฒนาด้านการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

Authors

  • ธีระวัฒน์ จันทึก

Keywords:

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี, การบริหาร, สถาบันอุดมศึกษา

Abstract

            การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงการพัฒนาที่ผสานหลายเทคนิควิธีในการรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นจากคณาจารย์รุ่นใหม่ บุคลากรและนักศึกษาองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง นักปกครองและข้าราชการในจังหวัดเพชรบุรี            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเห็นว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเก่าแก่มีชื่อเสียง มีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนท่ามกลางสิ่งอำนวยความสะดวก จึงควรที่จะพัฒนาจุดแข็งดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น และเห็นควรให้มีการเปิดหลักสูตรเพื่อจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นในสาขาที่มีความต้องการของสังคมและบริบทของประเทศ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว การบัญชี การจัดการสิ่งแวดล้อม หลักสูตรความรับผิดชอบต่อสังคม หลักสูตรนิติศาสตร์ และหลักสูตรการพยาบาลวิชาชีพ และเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการบริการทางวิชาการให้แก่ชุมชนและส่วนราชการของจังหวัด จัดตั้งเครือข่ายนักศึกษาเพื่อรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมที่เน้นกิจกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับชุมชนบริเวณรอบมหาวิทยาลัย และเน้นทิศทางให้เกิดการบริหารจัดการของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)            มหาวิทยาลัยควรออกแบบห้องเรียนและอาคารเรียนให้มีพื้นที่เรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่มเติม เพิ่มจำนวนตำราและเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ให้ศึกษาค้นคว้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยการกำหนดเป็นร่างแผนการพัฒนาในการบริหารจัดการ ควรประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 7 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบกายภาพและสาธารณูปโภค 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การบริการวิชาการและชุมชน 4) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5) การสร้างความร่วมทางสังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 6) การบริหารจัดการที่ดี 7) การพัฒนาโอกาสเชิงพาณิชย์และการจัดหารายได้            This study is a research and development (R&D), using several techniques to gathering data from key informants who were lecturers, university’s staff, students, people, administrators and government officers in Petchaburi Province.            The results showed that all sample and key informant had same direction of idea and perspectives, i.e., the considered that the university was old university with well reputation with pleasant environment, and capable to arrange education through various facilities therefore those strengths should be more develop. In addition, they also considered that the additional curriculums should be opened in order to increase the instruction in the fields as social demanded and country context, including Tourism managerment, Accounting, Environmental management, corporate social responsibility, law, and Nursing.            In addition, they also had the opinion that university should develop into a center of academic to serve the community and local public sectors. Moreover, student network should be established in order to campaign environmental conservation by emphasizing on all activities with social responsibility conducted with the communities nearby the university. Furthermore, Management under the concept of Green University should be oriented as well.            The university should design all classrooms and buildings to be consisted of spaces for self-learning and increase the quantity of text books and electronic data base.            These operations were able to be performed by outlining development plan for management consisted of 7 strategies including: 1) development of physical system and utilities 2) education arrangement 3) academic services to the community 4) research and innovative development 5) social participation and cultural preservation 6) good governance 7) development of commercial opportunities and increasing income.

Downloads