หลักการแก้ปัญหาการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในทางที่ผิด: กรณีศึกษาแนวปฏิบัติของสหรัฐอเมริกาในการนำมาใช้กับเครื่องหมายการค้า

Authors

  • เอกรินทร์ วิริโย

Keywords:

การแก้ปัญหา, ทรัพย์สินทางปัญญา, ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า

Abstract

            การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการให้สิทธิแก่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้ประดิษฐ์คิดค้นงานต่าง ๆ ในการที่จะแสวงหาประโยชน์จากงานดังกล่าวได้แต่เพียงผู้เดียว เช่น สิทธิในการนำงานดังกล่าวมาผลิตซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ หรือ จำหน่าย โดยเป็นเจ้าของสิทธิที่มีอำนาจผูกขาดในงานดังกล่าว อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ได้เกิดกรณีที่เจ้าของสิทธิได้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานี้ในทางที่ผิด อันส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและประโยชน์ของสาธารณะโดยรวม เช่น กรณีที่เจ้าของสิทธิได้กำหนดสัญญาผูกมัดให้ผู้บริโภคจะต้องซื้อสินค้าชิ้นที่สองจากเจ้าของสิทธิ์เท่านั้น เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์กับสินค้าชิ้นแรกที่ได้ซื้อจากเจ้าของสิทธิไปแล้ว กรณีที่เจ้าของสิทธิ์ได้กำหนดให้ผู้บริโภคที่ได้ซื้อสินค้าของเจ้าของสิทธิหรือได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของเจ้าของสิทธิจะต้องไม่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันมาแข่งขันกับสินค้าของเจ้าของสิทธิ เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ศาลในต่างประเทศ อย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาหลักกฎหมายที่เรียกว่า “หลักการแก้ปัญหาการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในทางที่ผิด” เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหากรณีดังกล่าว โดยได้มีการนำหลักกฎหมายนี้มาใช้กับการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า จนกลายเป็นหลักกฎหมายที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้มีการนำหลักกฎหมายดังกล่าวมาใช้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกาถึงหลักเกณฑ์และการวางแนวคำวินิจฉัยเกี่ยวกับหลักกฎหมายดังกล่าว โดยในบทความฉบับนี้จะเน้นการศึกษากรณีการนำหลักกฎหมายดังกล่าวมาใช้กับเครื่องหมายการค้า            The protection on intellectual property provides the rights to the creators or inventors of the works in order to enable them to gain benefits of those works exclusively, for example, the rights to bring those works into reproduction, adaptation, dissemination or sale, with the right holders having the monopoly power in those works. However, there have been cases where the right holders misused their rights in intellectual property and this has the impact on the consumers and the public benefit as a whole such as in the case where the right holders endorsed tying arrangement that the consumers would have to buy the second products only from the right holders for using as a part or an accessory of the first products already bought from the same right holders or in the case where the right holders conditioned that the consumers who bought the products from the right holders or who are permitted to use the rights of the right holders, would not be permitted to produce the same product in competition with the right holders. However, from the study, it is found that the court in other countries such as the United States of America has developed the legal doctrine called “the doctrine on solving the misuse of intellectual property” to provide the solution for those cases. And this legal doctrine has been applied to the cases on the misuse of rights in patent, copyright and trademark and this legal doctrine has been widely accepted, whereas, Thailand has not yet endorsed this legal doctrine. Therefore, it is necessary to study from United States of America about this legal doctrine and judicial decisions. In this article, it will be particularly focused on the application of this legal doctrine to trademark cases.

Downloads