ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการ Generation Y

Authors

  • กมลพร สอนศรี
  • พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์

Keywords:

การทำงาน, ข้าราชการ, เจนเนอเรชันวาย, Generation Y

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y 2) ศึกษาปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยระดับองค์การของข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้าราชการ/พนักงานราชการซึ่งมีอายุไม่เกิน 34 ปี ในปีงบประมาณ 2557 ซึ่งสังกัดในส่วนงานประจำกระทรวง จำนวนทั้งหมด 20 กระทรวง จำนวนรวมทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ ผลการวิจัยโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ          ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y เป็นไปตามลักษณะของคนรุ่น Generation Y ทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะประเด็นที่มีพฤติกรรมที่เป็นจริงมากที่สุด คือ การชอบความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน ในส่วนของความคิดเห็นต่อปัจจัยระดับบุคคล พบว่า ข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y มีความคิดเห็นต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัวอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการอยู่ในระดับมาก และมีความจงรักภักดีต่อองค์การอยู่ในระดับมากเช่นกัน ในด้านปัจจัยระดับองค์การ พบว่า ข้าราชการ/พนักงานราชการ รุ่น Generation Y มีความคิดเห็นต่อการสนับสนุนจากองค์การในระดับมากสำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y พบว่า ปัจจัยการเป็นแบบอย่างที่ดีของคนในครอบครัว และปัจจัยทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการเป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน พยากรณ์และอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y          ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ 1) หน่วยงานราชการควรพิจารณาการปรับกฎ ระเบียบในการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น 2) ผู้บริหารในหน่วยงานราชการควรเปิดโอกาสให้ข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y แสดงความคิดเห็นในประเด็นที่สำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางขององค์กร และควรมอบอำนาจการตัดสินใจในบางเรื่องให้กับข้าราชการ/พนักงานราชการรุ่น Generation Y เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น 3) ส่วนราชการควรพิจารณาถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการบริหารสวัสดิการ และค่าตอบแทน โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดสวัสดิการให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น          The objectives of the research are: 1) To study the work behavior of Generation Y government employees. 2) To study about the opinion of Generation Y government employees toward to personnel factors and organizational factors. 3) To study the factors affecting work behavior of Generation Y government employees.          The respondents in this study were 400 government employees working in the different ministries who are under 34 years of age in the fiscal year of 2014. Questionnaires were used as an instrument. The data were analyzed by using descriptive statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics using multiple regression.          The research found a similar relationship between work behavior of Generation Y government employees and general Generation Y behavior especially in the area of preference over cooperativeness rather than individual competition. According to the personnel factors, a high level of the opinion of Generation Y government employees toward parental modeling, work attitude within bureaucracy and organizational loyalty were found. For organizational factors, the opinion of Generation Y government employees toward organizational support was in a high level. As for the factors affecting work behavior of Generation Y government employees, it was found that parental modeling, work attitude within bureaucracy affected within bureaucracy affected the work behavior of Generation Y government employees          The recommendation of this research were 1) Government sectors should deregulate and implement flexible work arrangements instead of sticking to the traditional hours. 2) Administrators should give Generation Y government employees a chance to express their opinion and empower them through the effective delegation. 3) Government sectors should formulate and implement a flexible welfare policy to motivate the employees to work more efficiently.

Downloads