การวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการปฏิบัติเพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Keywords:
มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, การบริหาร, การบริหารองค์การ, การพัฒนาองค์การ, ประกันคุณภาพการศึกษาAbstract
บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสำรวจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในโครงสร้างการบริหารงานของฝ่ายสนับสนุนของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ประเมิน วิเคราะห์ และสร้างข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาโครงสร้างการบริหารงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) ศึกษาแนวทางในการสร้างคู่มือการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล ทำโดยใช้แบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรสายสนับสนุนในฐานะตัวแทนของกลุ่มงาน 5 กลุ่ม อันประกอบไปด้วย กลุ่มงานฝ่ายบริหาร กลุ่มงานฝ่ายนโยบายและแผนวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานฝ่ายวิชาการสำนักการจัดการศึกษาและบัณฑิตศึกษา กลุ่มงานฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา และกลุ่มงานฝ่ายกิจการนิสิต ผลการศึกษา พบว่า ตามวงจรเดมมิ่งในฐานะกรอบการวิเคราะห์ของงานวิจัย แต่ละกลุ่มงานมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการลงมือปฏิบัติตามที่ได้วางแผนไว้ แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นตรวจสอบ ทุกกลุ่มงานประสบปัญหาในการลงมือปฏิบัติที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการลงมือปรับปรุงและสร้างข้อเสนอแนะเพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานคณบดี คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาต่อไป This research article aims 1) to study and explore problems from operations under an administrative structure of supportive personals in Faculty of Political Science and Law, Burapha University; 2) toevaluate, analysis, and offer suggestions for developing the faculty administrative structure to match with administrative strategies belonging to Faculty of Political Science and Law, Burapha University; and 3) to study guidelines for constructing an operative manual of supportive personals in Faculty of Political Science and Law, Burapha University. The research methodology is qualitative research. Data has been collected by taking an in-depth interview on faculty administrators, chief staff and supportive staff of five supportive units; i.e. administrative unit, policy-planning, research, and IT unit, academic and graduate unit, quality assurance unit, and student affairs unit. The research found that, based on Deming cycle as a theoretical framework, each supportive unit has a systemic planning process, has been doing operations on plan, but has faced with some obstacles during a checking process. Because of this, the research suggested each supportive unit to act well, to develop unplanned outcomes, and to construct handbook of the dean’s office, Faculty of Political Science and Law, Burapha University.Downloads
Issue
Section
Articles