การรวมกรณีละเมิดสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นในหลายประเทศมาพิจารณาในศาลของประเทศเดียวและการออกคำสั่งศาล

Authors

  • เอกรินทร์ วิริโย

Keywords:

สิทธิบัตร, การละเมิดสิทธิบัตร, ทรัพย์สินทางปัญญา

Abstract

          การบังคับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการฟ้องร้องกรณีละมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปตามหลักดินแดนซึ่งหมายความว่า หากมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศใด เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาก็จะต้องฟ้องร้องในศาลของประเทศนั้น ซึ่งแท้จริงแล้ว การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่อาจมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเดียวกันเกิดขึ้นในหลายประเทศในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันได้ อย่างเช่น มีการละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในเทคโนโลยีเดียวกันเกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยเจ้าของสิทธิบัตรและผู้ละเมิดสิทธิบัตรเป็นคู่กรณีเดียวกัน กรณีนี้หากยึดหลักดินแดน เจ้าของสิทธิบัตรก็จะต้องฟ้องร้องกรณีการละเมิดสิทธิบัตรในศาลของแต่ละประเทสดังกล่าว อันทำให้เกิดภาระเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และศาลของแต่ละประเทศดังกล่าว อาจมีคำวินิจฉัยที่ไม่สอดคล้องกัน ทั้งที่เป็นประเด็นการละเมิดสิทธิบัตรในเทคโนโลยีเดียวกันและมีคู่กรณีเดียวกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ศาลในสหภาพยุโรปจึงได้วินิจฉัยให้สามารถรวมกรณีละเมิดสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกต่าง ๆ มาพิจารณาในศาลของประเทศสมาชิกเดียว และศาลของประเทศดังกล่าว สามารถออกคำสั่งห้ามการละเมิดสิทธิบัตรข้ามเขตแดนที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกต่าง ๆ ได้ด้วยโดยผ่านข้อบังคับของสหภาพยุโรป ประกอบกับศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลข้ามเขตแดนไปยังประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกันและในบทความฉบับนี้จะศึกษาและวิเคราะห์แนวทางของสหภาพยุโรป เปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาเพื่อประโยชน์ในการนำมาปรับใช้กับการรวมกลุ่มของประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น อาเซียน ต่อไป          The enforcement in right of intellectual property and litigation are under the principle of territoriality. This means that intellectual property owners must litigate in the court of the country where the infringement occurs, despite of the fact that infringement may not only occur in one country but may simultaneously occur in a number of countries such as where there is a number of infringements in the patents of the same technologies in many countries and the patent owners and the infringers are the same parties. In this particular case, according to the principle of territoriality, the patent owners will have to litigate in each country that infringements occur, leading to burdens in costs, time wasting, and the courts in each country may render the inconsistent decisions in relation to the infringements in the patents of the same technologies. Therefore, in order to solve the problems, the courts in the European Union have decided to allow the consolidation of patent infringement cases to be considered by the court of only one member country and that court may also issue the cross-border injunction to stop the infringements in other member countries through the Council Regulation. Furthermore, the courts in the United States have also decided to issue the temporary order affecting other countries. In this paper, it is to study and analyze on European Union in comparison with United States for the application to other regional group such as ASEAN in the future

Downloads